PIYADA_AUD

ยินดีต้อนรับสู่บ้านของเรา สถาปัตยกรรมของเรา


สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเป็นสิ่งที่มีคุณค่าในตัวเอง

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเป็นของที่ไม่ละเมียดละไม...แต่งดงาม

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเป็นของที่ไม่ถาวร...แต่ยั่งยืน

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเป็นของที่ง่ายๆ...แต่ทรงภูมิปัญญา

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเป็นของธรรมดา...แต่มีอัตลักษณ์


และที่สำคัญสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเป็นสถาปัตยกรรมแห่งความจริง
ทุกอณูในเนื้องานสะท้อนความจริงของวัสดุ โครงสร้าง ภูมิปัญญาท้องถิ่น

สะท้อนความจริงของปัจจัยแวดล้อม
สะท้อนความจริงของวิถีการใช้สอย

จึงพูดได้ว่า เป็นสถาปัตยกรรมแห่งสัจจะ...ไร้มายา...จึงมีคุณค่าเหนือกาลเวลา


วันอังคารที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2554

งานศิลปะ

ศิลปะ

ศิลปะ หรือ ศิลป์ (สันสกฤต: शिल्प ศิลฺป) ทั่วๆไปแล้วจะหมายถึงการกระทำหรือขั้นตอนของการสร้างชิ้นงานศิลปะโดยมนุษย์ คำแปลในภาษาอังกฤษที่ตรงที่สุดคือ Art ศิลปะเป็นคำที่มีความหมายกว้าง แต่ส่วนใหญ่แล้วจะมีความหมายเกี่ยวกับการสร้างสรรค์, สุนทรียภาพ, หรือการสร้างอารมณ์ต่างๆ
งานศิลปะ จะรวมถึงชิ้นงานหลายๆชนิดโดยผู้สร้างตั้งใจสร้างชิ้นงานเพื่อสื่อสาร,สื่ออารมณ์,หรือใช้สัญลักษณ์เพื่อให้ผู้ชมชิ้นงานตีความ ผู้สร้างงานศิลปะ มักเรียกรวมๆ ว่า ศิลปิน
ศิลปะอาจรวมไปถึงงานในรูปแบบต่างๆเช่น งานเขียน บทกวี การเต้นรำ การแสดง ดนตรี งานปฏิมากรรม ภาพวาด-ภาพเขียน การจักสาน หรือ อื่นๆ อย่างไรก็ตามส่วนใหญ่แล้วศิลปะจะหมายถึงงานทางทัศนศิลปะพวก ภาพวาด-ภาพเขียน งานประติมากรรม งานแกะสลัก รวมถึง conceptual art และ installation art
ศิลปะ(Art) นับว่าเป็นศาสตร์ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน ตั้งแต่มีมนุษย์เกิดขึ้น และนับว่าเป็นศาสตร์ของนักปราชญ์ที่เป็นที่ชื่นชม




สิม : สถาปัตยกรรมพื้นบ้านอีสาน

สิม : สถาปัตยกรรมพื้นบ้านอีสาน

รศ.วิสุทธิ์ ภิญโญวาณิชกะ

                    
   ศาสนาคารที่เกี่ยวเนื่องในพระพุทธศาสนานั้น มีหลายประเภทตามลักษณะของประโยชน์ใช้สอย เช่น พระอุโบสถ หรือโบสถ์ ใช้ทำกิจกรรมของสงฆ์ ศาลาการเปรียญ ใช้ทำกิจกรรมทั่วๆไป หอไตร ใช้เก็บคัมภีร์ทางศาสนา เป็นต้น ศาสนาคารเหล่านี้มีความสำคัญลดหลั่นกันไป ที่สำคัญมากน่าจะได้แก่พระอุโบสถ เพราะใช้เป็นที่ทำสัฆกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การอุปสมบท

สิมวัดสนวนวารีพัฒนาราม




วัดบึงแก้ว สิม อีสาน

             พระอุโบสถ มีทั้งขนาดใหญ่และเล็ก ปัจจุบันมีความสำคัญมาก เพราะเป็นอาคารประธานของวัด แทนสถูปเจดีย์ และวิหารที่เคยมีความสำคัญและเป็นประธานของวัดมาก่อน พระอุโบสถทั่วไป จะสร้างด้วยไม้หรือก่ออิฐถือปูน เป็นอาคารที่มีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีประตูทางเข้าทางด้านหน้าและด้านหลัง ด้านข้างมีหน้าต่าง ภายในทำเป็นฐานชุกชีประดิษฐานพระพุทธรูปประธาน
ในภาคอีสาน พระอุโบสถจะเรียกกันว่า “สิม” ซึ่งเป็นรูปของเสียงที่กร่อนมาจากคำว่า “สีมา” ซึ่งหมายถึงเขตหรืออาณาเขตที่กำหนดขึ้น เพื่อใช้ทำกิจกรรมในพระพุทธศาสนา
          พระอุโบสถ หรือสิมอีสาน เป็รนอาคารขนาดเล็ก มีสัดส่วน ทรวดทรง การตกแต่งภายนอก ภายในเพื่อความสวยงาม การเลือกใช้วัสดุที่มีในท้องถิ่น ตลอดจนใช้โครงสร้าง มีลักษณะที่ค่อนข้างลงตัว คือ ทุกอย่างดูพอดี พอเหมาะ ไม่เล็ก ไม่ใหญ่เกินไป เป็นลักษณะของสถาปัตยกรรมพื้นบ้านอีสานที่มีรูปแบบเรียบง่าย หนักแน่น มีพลัง มีความสมถะ ส่อคุณลักษณะแห่งความจริงใจ อันเป็นคุณสมบัติเด่นของชาวอีสาน

สิมอีสานมี 3 ประเภท คือ คามสีมา สิมที่สร้างในชุมชน อัพภันตรสีมา สิมที่สร้างในป่า และอุทกกเขปสีมา สิมที่สร้างในน้ำ แต่ส่วนมากเป็นสิมที่สร้างในชุมชน ส่วนสิมที่สร้างในป่า และสร้างในน้ำมีน้อย
จังหวัดบุรีรัมย์ มีสิมเกือบทุกวัด แต่ปัจจุบันสิมที่มีอยู่ ได้ชำรุด หักพัง และรื้อทิ้งไปเป็นจำนวนมาก เพราะชุมชนหันมาสนใจค่านิยมสมัยใหม่ตามลัทธิส่วนกลางนิยม (Capitalism) คือ พึงพอใจรูปแบบของพระอุโบสถของส่วนกลาง และรังเกียจรูปแบบพระอุโบสถที่มีอยู่เดิม ทั้งนี้เพราะขาดความเข้าใจคุณค่าและความหมายภูมิปัญญาท้องถิ่น จึงปรากฏว่า วัดต่างๆได้รื้อสิม หรือพระฮุโบสถเก่า และสร้างพระอุโบสถใหม่ที่มีรูปแบบจากส่วนกลางขึ้นแทน
เรื่องของภูมิปัญญาท้องถิ่นนั้น เป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่ต้องใช้สติปัญญาพิจารณาเพื่อให้ประจักษ์ว่า สิ่งต่างๆที่ปู่ ย่า ตา ยาย คิดสร้างทำขึ้นไว้นั้น มีคุณค่า มีความหาย โดยเฉพาะอาคารในพระพุทธศาสนา ที่สร้างขึ้นจากความเลื่อมใสศัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างแน่นแฟ้น เป็นศูนย์รวมจิตใจของผู้คนในชุมชน ฉะนั้น สิ่งที่ได้สร้างไว้ ในอดีต เคยมีความสำคัญ แต่ปัจจุบันชำรุดทรุดโทรตม ปรักหักพัง หน้าที่ของเราซึ่งเป็นลูกหลาน ควรที่จะต้องช่วยกันดูแลรักษา ให้ดำรงอยู่สืบต่อไปนานเท่านาน การรื้อสิมก็ดี ศาสนาคารอื่นๆก็ดี นอกจากจะทำลายหลักฐานประวัติศาสตร์ของชุมชนแล้ว ยังเป็นการทำร้ายจิตใจของ ปู ย่า ตา ยาย และบรรพบุรุษของเราอย่างหยาบคายอีกด้วย



วิถีชาวอีสานใน "ฮูปแต้ม"

'ฮูปแต้ม' คือคำที่ ใช้เรียกงานศิลปะจิตรกรรมฝาผนัง ที่ใช้ในการตกแต่ง 'สิม' หรือโบสถ์แบบอีสาน เป็นศิลปะที่ทรงคุณค่าทางวัฒนธรรมของคนอีสาน
 ศิลปะที่บ่งบอกเรื่องราวความเป็นมาของสังคมแต่ละยุคสมัย
 ฮูปแต้มบนผนังสิมเกิดมาจากภูมิปัญญา และฝีมือของช่างเขียนภาพฝาผนังพื้นเมืองอีสาน หรือ 'ช่างแต้ม' ที่สั่งสมการเรียนรู้มาอย่างยาวนาน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการออกแบบ เทคนิคและการใช้วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งนอกจากบอกเล่าเรื่องราวทางศาสนา แล้วยังสามารถสะท้อนความคิดของช่างแต้มแต่ละคน ที่แสดงออกอย่างตรงไปตรงมา
 สิ่งที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่บรรจุอยู่ในผลงานก็คือ ความศรัทธาและความตั้งใจของคนทำ ฮูปแต้มจึงเป็นสื่อสะท้อนความคิด ความสามารถ ภูมิรู้ และทรรศนะเกี่ยวกับความงามของช่างและชาวบ้าน และสามารถนำมาใช้เป็นหลักฐานที่บันทึกเรื่องราวในอดีตของชุมชน ซึ่งฮูปแต้มที่ปรากฏส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับประเพณี วัฒนธรรม วิถีชีวิตของ คนอีสานในอดีตตลอดจนเรื่องราวทางพระพุทธศาสนา



วันอังคารที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2554

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น (Vernacular Architecture)สถาปัตยกรรมสำหรับคนธรรมดาที่ไม่ธรรมดา
ภาพการใช้ชีวิตวิถีชาวบ้านกับการใช้พื้นที่(Space) ที่มีการใช้สอยระนาบทุกระนาบอย่างเกิดประโยชน์สูงสุด
ความหมาย
 สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น คือ สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ( Vernacular architecture) หมายถึง สิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ที่มนุษย์สร้าง ขึ้นในแต่ละท้องถิ่นที่มีลักษณะแตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อม เพื่อสนองความต้องการนั้น ๆ รูปแบบของสิ่งก่อสร้างอาจจะพัฒนาไปจากรูปแบบเดิม เพื่อให้เหมาะสมกับการดำเนินชีวิต โดยใช้วัสดุก่อสร้างที่หามาได้ตามท้องถิ่นนั้น ๆ โดยมีความหมายในที่กล่าวโดยรวมว่า
"vernacular architecture" refers to structures made by empirical builders, without the intervention of professional architects. It is the most traditional and widespread way to build
“สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น หรือ Vernacular Architecture” กล่าวโดยรวม คือ งานสถาปัตยกรรมที่เกิดขึ้นภายในท้องถิ่น ที่ผ่านการพัฒนากระบวนการทางด้านความคิด และกระบวนการการผลิตต่าง เช่น วัสดุในการก่อสร้าง โดยผ่านภูมิปัญญา (Wisdom) ที่สร้างสรรค์และการลองผิดลองถูกของบรรพบุรุษเพื่อเลือกแนวทางที่ดีที่สุด เหมาะกับสภาพท้องถิ่นที่ตั้งอยู่ ดินฟ้าอากาศ และการใช้ชีวิต โดยการผลิตงานสถาปัตยกรรมหรือวัสดุในการก่อสร้างจะใช้แรงงานคนเป็นหลัก ต่างจากงานสถาปัตยกรรมที่เป็นอุตสาหกรรม จะใช้เครื่องจักร เครื่องมือในการทุนแรงในการผลิตเป็นหลัก มีต้นทุนสูงทำให้คนธรรมดาเข้าถึงการผลิตได้ยากหรือหมายความว่าไม่มีกำลังในการผลิตนั้นเอง
คนในเมืองหลวงส่วนใหญ่เข้าใจว่างานสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นส่วนใหญ่ อยู่ตามชนบทหรือท้องที่ห่างไกลความเจริญ โดยมองว่าสถาปัตยกรรมในเมืองหลวงเป็นสถาปัตยกรรมไทย เช่น เป็นสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยา สุโขทัย รัตนโกสินทร์ แต่งานสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นอยู่ใกล้กว่าที่คิด ลองมองชุมชนที่ตนเองอยู่หรือการใช้ชีวิตที่ทันสมัยในปัจจุบัน เช่น ครอบครัวที่ย้ายเข้ามาอยู่ในบ้านจัดสรร เมื่ออยู่ไปสักพักจะต้องมีการต่อเติม เช่น ส่วนครัวยื่นออกไปภายนอก ส่วนนั่งเล่นที่เพิ่มเติมขึ้นมาใต้ต้นไม้ นั่นอาจหมายถึงบ้านจัดสรรที่อยู่อาจไม่ได้สำเร็จรูปอย่างที่คิดกัน มันอาจตอบปัญหาบางอย่างได้ แต่การใช้ชีวิตกับงานสถาปัตยกรรมอาจไม่ตอบสนองกันก็เป็นไปได้ ถ้ามองในอีกแง่หนึ่งงานสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นอาจกำลังเคลื่อนตัวไปตามความสนใจของคนในยุคปัจจุบันอยู่ก็อาจเป็นไปได้

“ สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นมีความเคลื่อนไหวและปรับตัวตามการใช้ชีวิต”
หลักการ
งานสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น(Vernacular Architecture) เกิดจาการแก้ปัญหาของคนในชุมชน บรรพบุรุษ และการจัดการสภาพแวดล้อมให้เหมาะกับการใช้ชีวิตของตน ดังนั้นหลักการอันแท้จริงอาจมีไม่ตายตัว แต่หากเป็นเพียงสิ่งที่ทำแล้วเกิดการแก้ปัญหาได้อย่างแท้จริงก่ออาจดำรงอยู่ต่อไป แต่ถ้าหากเป็นสิ่งทีทำแล้วไม่สามารถแก้ปัญหาได้ก็จะเสื่อมไปเอง แต่หลักการที่มีความคล้ายคลึงกันก็คือ
1.เป็นวัสดุที่มีอยู่ในท้องที่ อยู่ตามธรรมชาติ หาได้ง่าย เช่น ไม้ อิฐ หญ้าคา หรือวัสดุเหลือใช้ต่างๆ (เช่น ผ้าใบโฆษณา)
2. กระบวนการในการก่อสร้าง หรือการผลิตก็จะใช้แรงคนเป็นหลัก โดยช่วยเหลือกันในครอบครัวเดียวกัน หมู่บ้านเดียวกัน ก็จะเกิดการถ่ายทอดวิชาความรู้จากรุ่นสู่รุ่น จากคนแก่สู่คนหนุ่มสาว เกิดการถ่ายทอดประสบการณ์ทางวัฒนธรรม และวิถีชีวิต
3. มีการจัดการทางสิ่งแวดล้อมที่สอดคล้องกับการใช้ชีวิต ทำให้เกิดภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรม (Cultural Landscape) คือ การรับรู้วัฒนธรรมของพื้นที่ เช่น มีการปลูกต้นไม้ สมุนไพร หรือพืชผลที่จะใช้ในครัว เช่น ต้นสะเดา ต้นพลู ตระไคร้ ใบมะกรูด นอกจากนี้ยังเกิดความเชื่อที่เกิดจากการปลูกพืชพรรณอีกด้วย เช่น การปลูกขนุน เพื่อให้มีคนเกื้อหนุน แต่ความหมายโดยนัย ดือต้นขนุนมีผลออกทั้งปี ใช้รับประทานได้ และต้นก็สามารถนำไม้ไปใช้ได้ หรือการจัดการสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวกับพื้นที่กับธรรมชาติ เช่น ลานดิน จะมีความโล่งเตียน เมื่อมีสัตว์ร้ายเข้ามาก็สามารถมองเห็นได้ง่าย และลานดินเมื่อมีน้ำฝนตกลงมาน้ำเหล่านั้นก็จะซึมลงสู่ดินเป็นวัฎจักรของน้ำ ไม่เกิดความร้อนในเวลากลางวัน เหมือนพื้นลานคอนกรีต และยังเป็นลานกันไฟอีกด้วย
“ภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรมมีความเคลื่อนไหวต่างกันในแต่ละปี”
4. มีการปรับเปลี่ยนการใช้งานได้ตลอดเวลา พื้นที่ (Space) มีการซ้อนทับในเวลาที่เปลี่ยนไป อยู่ร่วมกันไม่มีการแบ่งหรือกั้นพื้นที่ แต่มีการกำหนดพื้นที่โดยการ กั้นผ้าม่าน กางมุ้ง แบ่งพื้นที่สำหรับครอบครัวใหม่ และผู้อาวุโสเป็นต้น
5.อาจมีการเลือกใช้วัสดุสมัยใหม่ก็เป็นการคัดสรร เข้ามาใช้แทนวัสดุเดิม ร่วมกับวัสดุเดิม มีการปรับใช้กับวัสดุเดิมเข้าด้วยกันได้
 การพัฒนาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น
1.               การพัฒนาที่อยู่อาศัยจากภูมิปัญญาท้องถิ่น จะต้องไม่ใช้ระบบสากลมาเป็นตัวชี้วัด โดยการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมป่าไม้ เพื่อใช้สร้างเอกลักษณ์ความเป็นท้องถิ่นแต่ละท้องที่ โดย  การทำเป็นต้นแบบ ในการพัฒนาต่อไปโดยไม่ปฏิเสธการออกแบของชาวบ้าน ใช้หลักการออกแบบร่วมกัน ทำให้เกิด”สถาปัตยกรรมร่วมสมัย” โดยปราศจากวัฒนธรรมตะวันตก
2.               มีการส่งเสริมให้ผลิตวัสดุการก่อสร้างที่เกิดขึ้นจากวัสดุในท้องถิ่น เป็นการสร้าง งาน รายได้ แก่คนในชุมชน และเกิดการพัฒนาฝีมือแรงงาน
3.               ออกแบบตามสภาพแวดล้อมตามท้องถิ่น ตามสภาพภูมิอากาศ และการใช้งานของขาวบ้าน
4.               มีการให้ความรู้แก่ชาวบ้าน เพื่อเลือกใช้วัสดุต่างๆ และความรักในท้องถิ่นของตนเอง อาจมีการนำความรู้มาพัฒนาเทคนิควิธีในการจัดการความรู้ของชาวบ้าน
ตัวอย่างงานสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น
งานส่วนใหญ่จะเป็น สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นคือสถาปัตยกรรมของสามัญชน หรือชาวบ้าน และหมายรวมถึงสถาปัตยกรรมทุกประเภท ทั้งอาคารพักอาศัย ทั้งชั่วคราวและถาวร อาคารสำหรับอาชีพ เช่น ยุ้งข้าว โรงเก็บของ โรงสี โรงปั้นหม้อ ฯลฯ ทั้งอาคารสาธารณะ วัดวาอารามในชุมชน ศาลากลางบ้าน ศาลาท่าน้ำ ศาลาริมทาง ฯลฯ ซึ่งกระจายอยู่ทั่วประเทศ รวมทั้งต่างประเทศ ทั้งในเมืองหลวงและในชนบท




ศาสตร์ของเรา

ศาสตร์ของเรา
เสน่ห์แห่งท้องถิ่น...

I'am

พลูโต...ที่รัก