PIYADA_AUD

ยินดีต้อนรับสู่บ้านของเรา สถาปัตยกรรมของเรา


สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเป็นสิ่งที่มีคุณค่าในตัวเอง

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเป็นของที่ไม่ละเมียดละไม...แต่งดงาม

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเป็นของที่ไม่ถาวร...แต่ยั่งยืน

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเป็นของที่ง่ายๆ...แต่ทรงภูมิปัญญา

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเป็นของธรรมดา...แต่มีอัตลักษณ์


และที่สำคัญสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเป็นสถาปัตยกรรมแห่งความจริง
ทุกอณูในเนื้องานสะท้อนความจริงของวัสดุ โครงสร้าง ภูมิปัญญาท้องถิ่น

สะท้อนความจริงของปัจจัยแวดล้อม
สะท้อนความจริงของวิถีการใช้สอย

จึงพูดได้ว่า เป็นสถาปัตยกรรมแห่งสัจจะ...ไร้มายา...จึงมีคุณค่าเหนือกาลเวลา


วันเสาร์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2554

เรือนไทยภาคเหนือ

เรือนไทยภาคเหนือ

เรือนไทยภาคเหนือ เป็นหนึ่งใน เรือนไทย 4 ภาคของไทย ส่วนมากจะพบในจังหวัด เชียงราย เชียงใหม่ พะเยา ลำปาง ลำพูน แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ แม่ฮ่องสอน และตากบางส่วน









เรือนล้านนา






เรือนกาแล
เกิดเรือนประเภทต่าง ๆ ขึ้นตามสภาพการใช้งาน
  • เรือนชนบท หรือเรือนเครื่องผูก
เป็นเรือนขนาดเล็ก เรือนประเภทนี้กันทั่วไปเนื่องจากก่อสร้างง่ายราคาถูก ตามชนบทและหมู่บ้านต่าง ๆ เรือนชนิดนี้โครงสร้างส่วนหลังคา ตงพื้นใช้ไม้ไผ่ ส่วนคานและเสานิยมใช้ไม้เนื้อแข็ง ฝาเป็นฝาไม้ไผ่สาน หลังคามุงแฝกหรือใบตองตึง นิยมใช้ตอกและหวายเป็นตัวยึดส่วนต่าง ๆ ของเรือนเข้าด้วยกันด้วยวิธีผูกมัด จึงเรียกกันว่า "เรือนเครื่องผูก" สร้างขึ้นกลางทุ่งนา เพื่อเฝ้าทุ่ง หรือเพื่อประโยชน์การใช้งานตามฤดูกาล มีลักษณะชั่วคราวอยู่ได้ 2-4 ปี เมื่อถึงฤดูฝนในปีหนึ่งๆต้องมีการซ่อมแซมครั้งใหญ่ มีการออกแบบโดยใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด มีสัดส่วนที่ลงตัว ค่อนข้างกระชับ
  • เรือนไม้ หรือเรือนเครื่องสับ
เรือนไม้ เป็นเรือนของผู้มีอันจะกิน ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง เช่น สัก เต็ง รัง ตะเคียน ไม้แดง ฯลฯ การปลูกเรือนประเภทนี้ไม่ต้องใช้ตะปูตอก ยึดให้ไม้ติดกันหรือประกอบกัน โดยการใช้มีด สิ่ว หรือขวานถากไม้ให้เป็นรอยสับแล้วประกอบเข้าด้วยกัน เรียกว่า การประกอบเข้าลิ้นสลักเดือย หลังคามุงกระเบื้อง (ดินขอ) หรือแป้นเกล็ด


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ศาสตร์ของเรา

ศาสตร์ของเรา
เสน่ห์แห่งท้องถิ่น...

I'am

พลูโต...ที่รัก