ศิลปะกับสถาปัตยกรรม
ศิลปะกับสถาปัตยกรรม โดย แคลวิน ทอมคินส์
จากนิตยสาร The New Yorker
ในช่วงทศวรรสุดท้าย บรรดางานศิลปขนาดใหญ่ ซึ่งมีไม่น้อยที่เป็นประเภทนามธรรมล้วนๆได้แพร่หลายออกไปอย่างมากทั่วทั้งสหรัฐ โดยที่งานนี้เกิดจากการแสดงอารมณ์ของศิลปินเองออกมา จึงได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ว่าเข้ากันไม่ได้อย่างสิ้นเชิงกับสิ่งแวดล้อมโดยรอบ.
อย่างไรก็ตาม แคลวิน ทอมคินส์ ให้ทรรศนะว่า ศิลปินผู้บุกเบิกจำนวนหนึ่งได้ริเริ่มสร้างศิลปะประเภทที่มุ่งประโยชน์มากกว่าขึ้นมาใหม่ โดยที่มีการนำเอาเรื่องการใช้ประโยชน์จากที่ว่างของประชาชน ตลอดจนความต้องการในสถานที่นั้นๆมาเป็นข้อพิจารณา งานทั้งหลายนี้จึงมีลักษณะเหมือนๆกับการให้ความสนใจแต่เดิมของงานสถาปัตยกรรม
ทอมคินส์ ซึ่งเป็นนักวิจารณ์ศิลปกรรมประจำนิตย์สารThe New Yorker: คือผู้ประพันธ์หนังสือเรื่อง The Scene:Reports on Post-Modern Art.----------------------------
การผสมผสานกันระหว่างศิลปะกับสถาปัตยกรรมย่อมต้องมีอุปสรรคอยู่บ้าง กระนั้นก็ดี ปรากฎว่าความเกี่ยวพันแบบขาดๆหายๆ มาแต่โบราณกาลนี้กำลังจะก้าวเข้าสู่ระยะใหม่ที่ได้รับแรงกระตุ้นเป็นบางส่วนโดยโครงการศิลปะในที่สาธารณะต่างๆ
รอเบิร์ต เออร์วิน ศิลปินผู้ซึ่งมีความผูกพันอย่างลึกซึ้งกับโครงการศิลปในที่สาธารณะทั้งหลาย ได้กล่าวบางสิ่งบางอย่างที่อาจหาญไว้ในปาฐกถาของเขา ตามความเห็นของเออร์วิน ศิลปในที่สาธารณะ(Public Art)คือคำนิยามใหม่ของคำว่าศิลปะในยุคของเรา . เขากล่าวว่า ในสังคมที่ใช้คอมพิวเตอร์กันมากขึ้นนี้ งานที่จำเป็นยิ่งของศิลปินก็คือการรักษาความสัมพันธ์กับมนุษย์เอาไว้ คือพยายามสอดใส่คุณค่าของมนุษย์เข้าไปในการตัดสินใจต่างๆ ซึ่งใช้เทคโนโลยี่ชั้นสูงเข้าช่วย,งานต่างๆของตัวเออร์วินเองครอบคุมด้านต่างๆ อย่างกว้างขวาง นับตั้งแต่ประเภทที่มุ่งประโยขน์ใช้สอยพอประมาณไปจนถึงประเภทที่จัดว่ามุ่งที่สุนทรียภาพอย่างสูง ทว่า ทั้งหมดล้วนมีบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับสถาปัตยกรรมด้วย. งานของเขาส่วนใหญ่ได้รับการเห็นชอบและสร้างขึ้นมา ปัญหาที่แท้จริงของเขามิได้เกี่ยวกับสถาบันศิลปะ หากแต่อยู่ที่บรรดาวิศวกรด้านความปลอดภัย,นักการเมืองและผู้วางผังเมือง(เขาบอกว่า โครงการศิลปในเมืองส่วนใหญ่มิได้มีลักษณะของเมืองใหญ่ที่แท้จริง เพราะโดยมากมักจะไปอยู่ตามสวนสาธารณะหรือไม่ก็บนพื้นที่ว่างเปล่า)กระนั้นก็ตาม แม้จะมีปัญหาต่างๆเป็นอันมาก แต่ความต้องการงานของเขากลับเพิ่มขึ้นเรื่อยๆสำหรับตัวเขาและศิลปินอื่นๆอีกจำนวนหนึ่งเป็นต้นว่า ซีอาห์ อาร์มาจานี, สก๊อต เบอร์ตัน,ริชาร์ด ไฟลช์เนอร์, มารี่ มิส , แจ๊คกี้ เฟอร์รารา , จอร์จ ทราคาส , แนนซี่ โฮท์, เจมส์ เทอร์เรล , เอเธนนา ทาชา , และคนอื่นๆอีกห้าหกคน, แต่ทว่างานของศิลปินเหล่านี้บางครั้งก็แทบจะแยกไม่ออกจากสถาปัตยกรรม. ศิลปินกลุ่มนี้สนใจที่จะประดิษฐ์โครงสร้างต่างๆ ด้วยความมุ่งหมายด้านให้ประโยชน์ใช้สอยมากกว่าที่จะสร้างปฎิมากรรมให้กับห้องแสดงศิลปกรรมหรือนักสะสม.เรื่องนี้ออกจะทำให้เหล่าสถาปนิกกระวนกระวายใจบ้างเล็กน้อย,"สถาปนิกหลายคนรู้สึกว่าเรากำลังแย่งทำสิ่งที่พวกเขากำลังทำ," อาจานี่กล่าว "ทว่างานของเรามิได้มีความมุ่งหมายเช่นนั้น งานของเรามิได้มุ่งหวังที่จะเพิ่มคุณค่าของสถาปัตยกรรมหรือว่าดัดแปลงแก้ไขใหม่ หากแต่เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของกันและกันเหมือนกับน้ำที่อยู่ในถ้วยแก้ว ก็เพราะว่า สถานที่สาธารณะนั้นอยู่ล้อมรอบตัวเราทั้งสองฝ่าย."
อามาจานี ได้รับความเคารพนับถือเป็นอย่างมากจากศิลปินท่านอื่นๆ ในกลุ่มนี้, เขาเกิดในเตหะราน ประเทศอิหร่าน ออกเดินทางมายังสหรัฐในปี ค.ศ.1960 ขณะมีอายุได้ 20ปี เพื่อมาศึกษาที่แมคอะเลสเตอร์ คอลเลจ ในเมืองเซนต์พอล รัฐมินนีโซตา แล้วก็อาศัยอยู่ในแถบนั้น. ศิลปะสำหรับเขาเป็นเรื่องของการเรียนรู้สังคม เป็นหนทางที่จะทำให้เข้าใจอเมริกา, การศึกษาสถาปัตย์กรรมอเมริกาของเขาในระยะแรกๆ ซึ่งได้แก่การศึกษาเกี่ยวกับ กระท่อมไม้ซุง, สะพาน , ยุ้งฉาง , ทำให้เขาสร้างผลงานชิ้นแรกๆของเขาเองขึ้นมาเป็นสะพานอุปมาที่มิได้นำไปสู่ที่ใด โดยสร้างขึ้นจากไม้สนในลักษณะลวกๆ แต่ใช้การได้ดีแบบเดียวกับของคนรุ่นบุกเบิก, จากนั้นเขาก็ออกแบบงานที่มีโครงสร้างใหญ่กว่า ซึ่งใช้ประโยชน์ได้ อย่างเช่น สำนักงาน, ห้องอ่านหนังสือ แผงหนังสือพิมพ์, โดยใช้วัสดุธรรมดาๆทั่วไปและใช้ฝีมือช่างไม้ธรรมดา,เขากล่าวไว้ว่าเขามีความตั้งใจที่จะ"สร้างสถานที่ชุมนุมสังสรรค์ต่างๆที่อยู่กลางแจ้งเพื่อให้ประชาชนใช้ร่วมกันอย่างเกิดประโยชน์และใช้ได้ตลอดเวลา."งานต่างๆที่เขาได้รับมอบหมายให้ทำประกอบด้วย ย่านการค้าสำหรับเดินซื้อของ ,อุทยานกวีนิพนธ์ , ห้องสมุดสำหรับวิทยาลัยศิลปกรรมและออกแบบ แห่งแมรี่แลนด์ ในซิลเวอร์ สปิง, สะพานสำหรับวนอุทยาน แห่งหนึ่งในนครซีแอ๊ตเติล,และ"ห้องเพื่อเป็นเกียรติแก่เฮนรี่ เดวิด ธอโร"ซึ่งเป็นวีรบุรุษผู้หนึ่งที่เขายกย่อง ณ สถานที่ตั้งซึ่งอยู่ไม่ไกลจากวอลเด็นพอนด์ รัฐแมสสาชูเสทส์.
อาร์มาจานีเชื่อว่า ศิลปินกับสถาปนิกสามารถจะและน่าจะทำงานร่วมกันในสมัยปัจจุบันนี้เหมือนกับที่เคยกระทำมาแล้วเป็นบางช่วงบางสมัยในอดีด
การร่วมงานกันในแบบที่อาร์มาจานีและสหายร่วมงานของเขาคิดไว้นั้นไปไกลเกินกว่าการสร้างงานศิลปไปแสดงไว้ในที่สาธารณะต่างๆอย่างที่ทำกันในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาซึ่งบรรดาศิลปินได้รับการว่าจ้างให้จัดทำงานศิลปะขึ้นสำหรับไปติดตั้งบริเวณที่ว่างที่เว้นไว้ของสถาปัตยกรรมซึ่งมีอยู่แล้ว ไม่ว่าจะวางแผนไว้ก่อนหรือว่ามาคิดกันในตอนหลังก็ตาม, งานศิลปกรรมจำนวนมากมายได้รับการติดตั้งในลักษณะนี้ โดยอาศัยเงินอุดหนุนของรัฐหรือเงินอุดหนุนจากองค์การปกครองท้องถิ่นซึ่งในหลายรายน่าเสียดายที่ไม่ดีคุ้มค่า. ทั้งนี้เพราะศิลปินใช้วิธีง่ายๆโดยนำผลงานที่ออกแบบไว้แล้วหรือทำเสร็จไว้ก่อนแล้วนำไปตั้งลงในห้องโถงใหญ่ๆหรือลานสาธารณะกว้างๆที่มอบให้เขาดำเนินการ. ตามปกติศิลปินไม่มีสิทธิออกความเห็นเกี่ยวกับแบบแผนสถานที่ตั้ง และบ่อยมากทีเดียวที่อาคารโดยรอบ เช่น อาคารที่ทำการของรัฐบาลและอะไรๆพวกเดียวกันนี้ จะมีลักษณะไม่น่าดูจนทำให้งานศิลปะดูไม่เด่น, กระนั้นก็ดี จากโครงการศิลปะในที่สาธารณะทำให้ศิลปินจำนวนหนึ่งและราษฎรธรรมดาอีกไม่ทราบจำนวน หันมาพิจาราณาดูปัญหาเรื่องศิลปะในที่สาธารณะทั้งหมดด้วยทัศนะใหม่ๆ
หนึ่งในบรรดาอุปสรรคที่มากับการร่วมงานใดๆก็ตามระหว่างสถาปนิกกับศิลปินได้แก่ ความแตกต่างกันอย่างมากมายในวิธีการที่บุคคลทั้งสองกลุ่มเข้าดำเนินงานของตน, ที่สำคัญที่สุด งานสถาปัตยกรรมเป็นแขนงวิชาเพื่อสังคมรูปหนึ่งซึ่งว่าด้วยการตอบสนองความต้องการนานาชนิดที่มีความเกี่ยวพันกับสุนทรียภาพเพียงเล็กน้อย ทุกสิ่งที่สถาปนิกสร้างขึ้นจะต้องได้รับการวางแผนและออกแบบอย่างพิถีพิถันละเอียดละออลงบนกระดาษก่อนแม้แต่รายละเอียดปลีกย่อยที่เล็กที่สุด, ศิลปินส่วนมากใช้วิธีทดลองไปเรื่อยๆโดยไม่มีอะไรตายตัวแน่นอนและมีน้อยเหลือเกินในปัจจุบันที่งานขั้นสุดท้ายจะมีรูปแบบถอดออกมาโดยตรงตามลำดับจากภาพร่างเบื้องต้น, ปัญหาเช่นว่านี้ได้รับการยกมากล่าวถึงไว้อย่างชัดเจน โดยสถานิก ฮิวจ์ ฮาร์ดี เมื่อเขาให้สัมภาษณ์กับบาร์บาราลี ไดอามอนสดีน สำหรับลงพิมพ์ในหนังสือของเธอเรื่องAmerican Architecture Now ว่า"การร่วมงานกับพวกศิลปินทำความสับสนให้กับกระบวนการต่างๆที่สถาปนิกวาดมโนภาพไว้"
ถึงแม้ว่า สถาปนิกที่มีชื่อเสียงส่วนใหญ่จะมีทีท่าว่าจะเห็นด้วยกับฮาร์ดี้ แต่ผู้หนึ่งในบรรดาศิลปินที่มีชื่อเสียงที่สุด คือ ไอ.เอ็ม.เปอี จะมีการไคร่ครวญบ้างเหมือนกัน จากการให้สัมภาษณ์กับไดโดมอน สตีน เขาพูดถึงอาคารของ MIT นี้ว่า" งานของศิลปินจะไม่เป็นเพียงศิลปะวัติถุชิ้นหนึ่งซึ่งไปตั้งอยู่ในที่ว่างหรือแขวนไว้บนผนังตึก แต่มันจะเป็นส่วนหนึ่งของต้วอาคาร เป็นส่วนหนึ่งของสิ่งแวดล้อมที่จะดำรงอยู่ตลอดไป" เปอียังกล่าวอีกด้วยว่า หมดสมัยแล้วที่คนๆเดียวจะเป็นทั้งศิลปินและสถาปนิก " ความสลับซับซ้อนในด้านวิทยาการของชีวิตสมัยนี้จะปิดกั้นมิให้คนเราเป็นเหมือนสมัยเรอเนซองค์ได้อีก, ผมไม่คิดว่าเราจะพบบุคคลเช่นว่านั้นอีกต่อไปแล้ว. ฉนั้น ศิลปินและสถาปนิกจะต้องเริ่มทำความเข้าใจซึ่งกันและกัน,เรื่องนี้เรายังไม่สามารถทำได้ดี,ทุกวันนี้ผมคิดว่าบรรดาศิลปินต่างมีความรู้สึกว่าถูกทอดทิ้ง พวกเขายังรู้สึกอีกด้วยว่า พวกเขาก้าวล้ำหน้าบรรดาสถาปนิกทั้งหลายไปมาก "
สิ่งหนึ่งที่ อาร์มาจานี, เออร์วิน, ไฟลช์เนอร์, เบอร์ตัน และผู้ร่วมแนวทางของพวกเขาดูเหมือนจะเห็นพ้องกันก็คือ การทำงานในภาคที่เกี่ยวกับประชาชน หมายถึง ต้องทิ้งคัมภีร์แห่งศิลปะบางอย่างไปบ้าง, พูดกว้างๆก็หมายถึงการขจัดการทำเพื่อตนเองของศิลปินทิ้งไป. "ในฐานะศิลปินของประชาชน คุณต้องทำงานภายในกรอบรสนิยมของประชาชน" เบอร์ตันกล่าว" จำต้องมีการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์. คุณทำงานร่วมกับนักพัฒนา กับสถาปนิก และกับนักการเมือง และคุณจะต้องไม่ผูกพันกับความคิดอย่างใดอย่างหนึ่งจนหมดทั้งตัว"
PIYADA_AUD
ยินดีต้อนรับสู่บ้านของเรา สถาปัตยกรรมของเรา
สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเป็นสิ่งที่มีคุณค่าในตัวเอง
สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเป็นของที่ไม่ละเมียดละไม...แต่งดงาม
สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเป็นของที่ไม่ถาวร...แต่ยั่งยืน
สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเป็นของที่ง่ายๆ...แต่ทรงภูมิปัญญา
สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเป็นของธรรมดา...แต่มีอัตลักษณ์
และที่สำคัญสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเป็นสถาปัตยกรรมแห่งความจริง
ทุกอณูในเนื้องานสะท้อนความจริงของวัสดุ โครงสร้าง ภูมิปัญญาท้องถิ่น
สะท้อนความจริงของปัจจัยแวดล้อม
สะท้อนความจริงของวิถีการใช้สอย
จึงพูดได้ว่า เป็นสถาปัตยกรรมแห่งสัจจะ...ไร้มายา...จึงมีคุณค่าเหนือกาลเวลา
สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเป็นสิ่งที่มีคุณค่าในตัวเอง
สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเป็นของที่ไม่ละเมียดละไม...แต่งดงาม
สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเป็นของที่ไม่ถาวร...แต่ยั่งยืน
สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเป็นของที่ง่ายๆ...แต่ทรงภูมิปัญญา
สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเป็นของธรรมดา...แต่มีอัตลักษณ์
และที่สำคัญสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเป็นสถาปัตยกรรมแห่งความจริง
ทุกอณูในเนื้องานสะท้อนความจริงของวัสดุ โครงสร้าง ภูมิปัญญาท้องถิ่น
สะท้อนความจริงของปัจจัยแวดล้อม
สะท้อนความจริงของวิถีการใช้สอย
จึงพูดได้ว่า เป็นสถาปัตยกรรมแห่งสัจจะ...ไร้มายา...จึงมีคุณค่าเหนือกาลเวลา
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น