PIYADA_AUD

ยินดีต้อนรับสู่บ้านของเรา สถาปัตยกรรมของเรา


สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเป็นสิ่งที่มีคุณค่าในตัวเอง

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเป็นของที่ไม่ละเมียดละไม...แต่งดงาม

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเป็นของที่ไม่ถาวร...แต่ยั่งยืน

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเป็นของที่ง่ายๆ...แต่ทรงภูมิปัญญา

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเป็นของธรรมดา...แต่มีอัตลักษณ์


และที่สำคัญสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเป็นสถาปัตยกรรมแห่งความจริง
ทุกอณูในเนื้องานสะท้อนความจริงของวัสดุ โครงสร้าง ภูมิปัญญาท้องถิ่น

สะท้อนความจริงของปัจจัยแวดล้อม
สะท้อนความจริงของวิถีการใช้สอย

จึงพูดได้ว่า เป็นสถาปัตยกรรมแห่งสัจจะ...ไร้มายา...จึงมีคุณค่าเหนือกาลเวลา


วันอังคารที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2554

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น (Vernacular Architecture)สถาปัตยกรรมสำหรับคนธรรมดาที่ไม่ธรรมดา
ภาพการใช้ชีวิตวิถีชาวบ้านกับการใช้พื้นที่(Space) ที่มีการใช้สอยระนาบทุกระนาบอย่างเกิดประโยชน์สูงสุด
ความหมาย
 สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น คือ สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ( Vernacular architecture) หมายถึง สิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ที่มนุษย์สร้าง ขึ้นในแต่ละท้องถิ่นที่มีลักษณะแตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อม เพื่อสนองความต้องการนั้น ๆ รูปแบบของสิ่งก่อสร้างอาจจะพัฒนาไปจากรูปแบบเดิม เพื่อให้เหมาะสมกับการดำเนินชีวิต โดยใช้วัสดุก่อสร้างที่หามาได้ตามท้องถิ่นนั้น ๆ โดยมีความหมายในที่กล่าวโดยรวมว่า
"vernacular architecture" refers to structures made by empirical builders, without the intervention of professional architects. It is the most traditional and widespread way to build
“สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น หรือ Vernacular Architecture” กล่าวโดยรวม คือ งานสถาปัตยกรรมที่เกิดขึ้นภายในท้องถิ่น ที่ผ่านการพัฒนากระบวนการทางด้านความคิด และกระบวนการการผลิตต่าง เช่น วัสดุในการก่อสร้าง โดยผ่านภูมิปัญญา (Wisdom) ที่สร้างสรรค์และการลองผิดลองถูกของบรรพบุรุษเพื่อเลือกแนวทางที่ดีที่สุด เหมาะกับสภาพท้องถิ่นที่ตั้งอยู่ ดินฟ้าอากาศ และการใช้ชีวิต โดยการผลิตงานสถาปัตยกรรมหรือวัสดุในการก่อสร้างจะใช้แรงงานคนเป็นหลัก ต่างจากงานสถาปัตยกรรมที่เป็นอุตสาหกรรม จะใช้เครื่องจักร เครื่องมือในการทุนแรงในการผลิตเป็นหลัก มีต้นทุนสูงทำให้คนธรรมดาเข้าถึงการผลิตได้ยากหรือหมายความว่าไม่มีกำลังในการผลิตนั้นเอง
คนในเมืองหลวงส่วนใหญ่เข้าใจว่างานสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นส่วนใหญ่ อยู่ตามชนบทหรือท้องที่ห่างไกลความเจริญ โดยมองว่าสถาปัตยกรรมในเมืองหลวงเป็นสถาปัตยกรรมไทย เช่น เป็นสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยา สุโขทัย รัตนโกสินทร์ แต่งานสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นอยู่ใกล้กว่าที่คิด ลองมองชุมชนที่ตนเองอยู่หรือการใช้ชีวิตที่ทันสมัยในปัจจุบัน เช่น ครอบครัวที่ย้ายเข้ามาอยู่ในบ้านจัดสรร เมื่ออยู่ไปสักพักจะต้องมีการต่อเติม เช่น ส่วนครัวยื่นออกไปภายนอก ส่วนนั่งเล่นที่เพิ่มเติมขึ้นมาใต้ต้นไม้ นั่นอาจหมายถึงบ้านจัดสรรที่อยู่อาจไม่ได้สำเร็จรูปอย่างที่คิดกัน มันอาจตอบปัญหาบางอย่างได้ แต่การใช้ชีวิตกับงานสถาปัตยกรรมอาจไม่ตอบสนองกันก็เป็นไปได้ ถ้ามองในอีกแง่หนึ่งงานสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นอาจกำลังเคลื่อนตัวไปตามความสนใจของคนในยุคปัจจุบันอยู่ก็อาจเป็นไปได้

“ สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นมีความเคลื่อนไหวและปรับตัวตามการใช้ชีวิต”
หลักการ
งานสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น(Vernacular Architecture) เกิดจาการแก้ปัญหาของคนในชุมชน บรรพบุรุษ และการจัดการสภาพแวดล้อมให้เหมาะกับการใช้ชีวิตของตน ดังนั้นหลักการอันแท้จริงอาจมีไม่ตายตัว แต่หากเป็นเพียงสิ่งที่ทำแล้วเกิดการแก้ปัญหาได้อย่างแท้จริงก่ออาจดำรงอยู่ต่อไป แต่ถ้าหากเป็นสิ่งทีทำแล้วไม่สามารถแก้ปัญหาได้ก็จะเสื่อมไปเอง แต่หลักการที่มีความคล้ายคลึงกันก็คือ
1.เป็นวัสดุที่มีอยู่ในท้องที่ อยู่ตามธรรมชาติ หาได้ง่าย เช่น ไม้ อิฐ หญ้าคา หรือวัสดุเหลือใช้ต่างๆ (เช่น ผ้าใบโฆษณา)
2. กระบวนการในการก่อสร้าง หรือการผลิตก็จะใช้แรงคนเป็นหลัก โดยช่วยเหลือกันในครอบครัวเดียวกัน หมู่บ้านเดียวกัน ก็จะเกิดการถ่ายทอดวิชาความรู้จากรุ่นสู่รุ่น จากคนแก่สู่คนหนุ่มสาว เกิดการถ่ายทอดประสบการณ์ทางวัฒนธรรม และวิถีชีวิต
3. มีการจัดการทางสิ่งแวดล้อมที่สอดคล้องกับการใช้ชีวิต ทำให้เกิดภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรม (Cultural Landscape) คือ การรับรู้วัฒนธรรมของพื้นที่ เช่น มีการปลูกต้นไม้ สมุนไพร หรือพืชผลที่จะใช้ในครัว เช่น ต้นสะเดา ต้นพลู ตระไคร้ ใบมะกรูด นอกจากนี้ยังเกิดความเชื่อที่เกิดจากการปลูกพืชพรรณอีกด้วย เช่น การปลูกขนุน เพื่อให้มีคนเกื้อหนุน แต่ความหมายโดยนัย ดือต้นขนุนมีผลออกทั้งปี ใช้รับประทานได้ และต้นก็สามารถนำไม้ไปใช้ได้ หรือการจัดการสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวกับพื้นที่กับธรรมชาติ เช่น ลานดิน จะมีความโล่งเตียน เมื่อมีสัตว์ร้ายเข้ามาก็สามารถมองเห็นได้ง่าย และลานดินเมื่อมีน้ำฝนตกลงมาน้ำเหล่านั้นก็จะซึมลงสู่ดินเป็นวัฎจักรของน้ำ ไม่เกิดความร้อนในเวลากลางวัน เหมือนพื้นลานคอนกรีต และยังเป็นลานกันไฟอีกด้วย
“ภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรมมีความเคลื่อนไหวต่างกันในแต่ละปี”
4. มีการปรับเปลี่ยนการใช้งานได้ตลอดเวลา พื้นที่ (Space) มีการซ้อนทับในเวลาที่เปลี่ยนไป อยู่ร่วมกันไม่มีการแบ่งหรือกั้นพื้นที่ แต่มีการกำหนดพื้นที่โดยการ กั้นผ้าม่าน กางมุ้ง แบ่งพื้นที่สำหรับครอบครัวใหม่ และผู้อาวุโสเป็นต้น
5.อาจมีการเลือกใช้วัสดุสมัยใหม่ก็เป็นการคัดสรร เข้ามาใช้แทนวัสดุเดิม ร่วมกับวัสดุเดิม มีการปรับใช้กับวัสดุเดิมเข้าด้วยกันได้
 การพัฒนาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น
1.               การพัฒนาที่อยู่อาศัยจากภูมิปัญญาท้องถิ่น จะต้องไม่ใช้ระบบสากลมาเป็นตัวชี้วัด โดยการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมป่าไม้ เพื่อใช้สร้างเอกลักษณ์ความเป็นท้องถิ่นแต่ละท้องที่ โดย  การทำเป็นต้นแบบ ในการพัฒนาต่อไปโดยไม่ปฏิเสธการออกแบของชาวบ้าน ใช้หลักการออกแบบร่วมกัน ทำให้เกิด”สถาปัตยกรรมร่วมสมัย” โดยปราศจากวัฒนธรรมตะวันตก
2.               มีการส่งเสริมให้ผลิตวัสดุการก่อสร้างที่เกิดขึ้นจากวัสดุในท้องถิ่น เป็นการสร้าง งาน รายได้ แก่คนในชุมชน และเกิดการพัฒนาฝีมือแรงงาน
3.               ออกแบบตามสภาพแวดล้อมตามท้องถิ่น ตามสภาพภูมิอากาศ และการใช้งานของขาวบ้าน
4.               มีการให้ความรู้แก่ชาวบ้าน เพื่อเลือกใช้วัสดุต่างๆ และความรักในท้องถิ่นของตนเอง อาจมีการนำความรู้มาพัฒนาเทคนิควิธีในการจัดการความรู้ของชาวบ้าน
ตัวอย่างงานสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น
งานส่วนใหญ่จะเป็น สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นคือสถาปัตยกรรมของสามัญชน หรือชาวบ้าน และหมายรวมถึงสถาปัตยกรรมทุกประเภท ทั้งอาคารพักอาศัย ทั้งชั่วคราวและถาวร อาคารสำหรับอาชีพ เช่น ยุ้งข้าว โรงเก็บของ โรงสี โรงปั้นหม้อ ฯลฯ ทั้งอาคารสาธารณะ วัดวาอารามในชุมชน ศาลากลางบ้าน ศาลาท่าน้ำ ศาลาริมทาง ฯลฯ ซึ่งกระจายอยู่ทั่วประเทศ รวมทั้งต่างประเทศ ทั้งในเมืองหลวงและในชนบท




ศาสตร์ของเรา

ศาสตร์ของเรา
เสน่ห์แห่งท้องถิ่น...

I'am

พลูโต...ที่รัก