PIYADA_AUD

ยินดีต้อนรับสู่บ้านของเรา สถาปัตยกรรมของเรา


สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเป็นสิ่งที่มีคุณค่าในตัวเอง

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเป็นของที่ไม่ละเมียดละไม...แต่งดงาม

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเป็นของที่ไม่ถาวร...แต่ยั่งยืน

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเป็นของที่ง่ายๆ...แต่ทรงภูมิปัญญา

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเป็นของธรรมดา...แต่มีอัตลักษณ์


และที่สำคัญสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเป็นสถาปัตยกรรมแห่งความจริง
ทุกอณูในเนื้องานสะท้อนความจริงของวัสดุ โครงสร้าง ภูมิปัญญาท้องถิ่น

สะท้อนความจริงของปัจจัยแวดล้อม
สะท้อนความจริงของวิถีการใช้สอย

จึงพูดได้ว่า เป็นสถาปัตยกรรมแห่งสัจจะ...ไร้มายา...จึงมีคุณค่าเหนือกาลเวลา


วันศุกร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2554

ผังเมืองในประเทศไทย

ผังเมืองในประเทศไทย


                        นักผังเมือง ในประเทศไทย ขึ้นอยู่กับ 2 สมาคมวิชาชีพ คือ สมาคมนักผังเมืองไทย(Thai City Planners Society-TCPS) และสมาคมสถาปนิกชุมชนเมืองไทย (Association of Thai Urban Designers - TUDA) ปัจจุบันสมาคมสถาปนิกชุมชนเมืองไทยเป็นส่วนหนึ่งของสาขาสถาปัตยกรรมผังเมือง ในสภาสถาปนิก วิชาชีพผังเมืองจึงเป็นวิชาชีพควบคุมตามพระราชบัญญัติสถาปนิก ดังจะเห็นได้จาก กฎกระทรวงว่าด้วยวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุมฯ ปี 2549[1])ที่ระบุว่างานสถาปัตยกรรมผังเมืองควบคุมได้แก่ พื้นที่ที่มีการบังคับใช้ผังเมืองรวม ผังเมืองเฉพาะ, งานจัดรูปที่ดิน, การจัดสรรที่ดิน, งานอนุรักษ์ศิลปกรรมและสิ่งแวดล้อม, งานในพื้นที่เขตเพลิงไหม้และเขตภัยพิบัติ, นิคมอุตสาหกรรม, กลุ่มอาคารขนาดใหญ่-ใหญ่พิเศษ อาคารสาธารณะ อาคารสูง อาคารพิเศษ พื้นที่รวมกัน 30,000 ตารางเมตรขึ้นไป
เดิมวิชาผังเมืองเปิดเป็นหลักสูตรสอนในระดับปริญญาโท (บัณฑิตวิทยาลัย) เริ่มครั้งแรกที่ ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เน้นการวางแผนและนโยบายในภาพกว้างบัณฑิตจากทุกสาขาสามารถเข้าเรียนได้ และ ต่อมา มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้เปิดสอนที่หลักสูตรปริญญาโท สำหรับผู้ที่จบปริญญาตรีสถาปัตยกรรมและการออกแบบกายภาพอื่นๆ ที่ ภาควิชาการออกแบบชุมชนเมือง และ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ใน สาขาวิชาการผังเมืองโดยได้รับปริญญาการผังเมืองมหาบัณฑิตโดยตรง ในปัจจุบันมีหลักสูตรการออกแบบชุมชนเมืองปัจจุบันได้ทำการเปิดสอนในระดับปริญญาตรีในหลายมหาวิทยาลัยอาทิ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่ ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ใน สาขาวิชาการผังเมืองโดยได้รับปริญญาการผังเมืองบัณฑิตโดยตรง และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์มหาวิทยาลัยมหาสารคามที่ สาขาวิชาสถาปัตยกรรมเมืองและชุมชนด้วย และในเร็ว ๆ นี้ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จะดำเนินการเปิดสอนในระดับปริญญาเอกสาขาวิชาการผังเมืองโดยตรงอีกด้วย


อ้างอิง

  • Urban Development: The Logic Of Making Plans, Lewis D. Hopkins, Island Press, 2001. ISBN 1-55963-853-2
  • Readings in Planning Theory, Susan Fainstein and Scott Campbell, Oxford, England and Malden, Massachusetts: Blackwell Publishers, 2003.
  • Urban Planning Theory since 1945, Nigel Taylor, London, Sage, 2007

การออกแบบชุมชนเมือง
(จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี)
การออกแบบชุมชนเมือง หรือ สถาปัตยกรรมผังเมือง เป็นศาสตร์แขนงหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสรรค์สภาพแวดล้อมของเมือง โดยผู้ประกอบวิชาชีพนี้ เรียกว่า "นักออกแบบชุมชนเมือง" หรือ "สถาปนิกผังเมือง" โดยมีหน้าที่สร้างสรรค์สภาพแวดล้อมทางกายภาพของชุมชนเมือง โดยเน้นคุณภาพ 3 ด้าน คือ คุณภาพทางด้านสุนทรียภาพ คุณภาพทางด้านชีวิตของสังคมเมือง และคุณภาพของสิ่งแวดล้อม


อ้างอิง
  • Hillier B. and Hanson J. "The Social Logic of Space". Cambridge University Press, 1984. ISBN 0-521-36784-0.
  • David Gosling, Barry Maitland, Concepts of urban design, University of Minnesota 1984, ISBN 0312161212.

การวางแผนภาค


การวางแผนภาค (regional planning) เป็นสาขาหนึ่งของการวางแผนที่ดินที่เกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพในการกำหนดการใช้ที่ดินและกิจกรรม โครงสร้างพื้นฐานและการเจริญเติมโตอันเนื่องมาจากการตั้งถิ่นฐานบนพื้นที่ที่มีขนาดใหญ่มากมากกว่านครหรือเมืองใดเมืองหนึ่งเพียงเมืองเดียว สาขาที่เกี่ยวเนื่องและสัมพันธ์กันได้แก่การการวางแผนชุมชน และการออกแบบชุมชนเมือง ซึ่งเป็นการเกี่ยวข้องกับปัญหาเฉพาะในพื้นที่ที่เป็นส่วนของเมือง และถือเป็นส่วนของการผังเมือง การวางแผนภาค การวางแผนชุมชนและการออกแบบชุมชนถือกันว่าเป็นการวางแผนเชิงพื้นที่ (Spatial planning) ที่ภายใต้กรอบที่พัฒนาแนวทางมาจากยุโรป


การวางแผนภาค

ในแต่ละ ภาค จะต้องมีการใช้ที่ดินที่หลากหลาย ต้องการการปกป้องพื้นที่เกษตรกรรม พื้นที่เมือง จะต้องมีพื้นที่เพื่อการอุตสาหกรรม เพื่อการจัดวางโครงข่ายและศูนย์การขนส่ง พื้นที่การทหาร พื้นที่ธรรมชาติและป่าสงวน ฯลฯ รวมทั้งพื้นที่เสี่ยงภัยธรรมชาติซึ่งมักมีปัญหาขัดแย้งระหว่างการใช้ที่ดินที่ต่างกัน
การวางแผนภาคเป็นศาสตร์ว่าด้วยการจัดวางหรือกำหนดพื้นที่ที่มีประสิทธิภาพ ด้วยการวางโครงสร้างพื้นฐานพร้อมการกำหนดเขตหรือย่าน (อังกฤษ: Zoning) เพื่อนำไปสู่การเจริญเติบโตที่ยั่งยืนของทั้งภาคซึ่งอาจครอบคลุมพื้นที่หลายจังหวัด
คำว่า "ภาค" ในความหมายของการวางแผนอาจกำหนดโดยเขตการปกครองที่มีลักษณะปัญหาการพัฒนาหรือปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นไปในแนวเดียวกัน เช่น พื้นที่ชายฝั่งภาคตะวันออกของประเทศไทยที่เรียก "อีสเทิร์นซีบอร์ด" ซึ่งรวมพื้นที่หลายจังหวัด หรืออาจเป็นพื้นที่ที่กำหนดโดยลุ่มน้ำธรรมชาติ เช่น พื้นที่ลุ่มน้ำวัง

หลักการของการวางแผนภาค

เนื่องจากพื้นที่ "ภาค" ครอบคลุมพื้นที่ของหลายองค์การปกครองท้องถิ่นซึ่งมีกฎหมายท้องถิ่นและระบบงบประมาณเป็นของตัวเอง การวางแผนภาคจึงเป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้การพัฒนาของพื้นที่ภาคโดยภาพรวมซึ่งมีผลกระทบถึงกันโดยตรงมุ่งสู่เป้าหมายเดียวกันอย่างมีประสิทธิภาพและชัดเจน ปกติการวางแผนภาคโดยทั่วไปจะมุ่งเน้นที่จะ:-
  • พิทักษ์ ปกป้องและต่อต้านการพัฒนาในพื้นที่น้ำท่วมและพื้นที่เสี่ยงภัยธรรมชาติ เช่น บนแนวรอยแยกแผ่นดินไหว พื้นที่เสี่ยงคลื่นสึนามิ
  • กำหนดระบบโครงข่ายการคมนาคมและการสัญจรที่เชื่อมโยงไปยังพื้นที่พัฒนาในส่วนต่างๆ ของประเทศ
  • กำหนดแนวคิดในการพัฒนาเน้นเฉพาะที่เหมาะสมกับศักยภาพของทรัพยากรในภาคนั้นๆ เช่น การเน้นเป็นพื้นที่เกษตรก้าวหน้าเนื่องจากความอุดมของดินและแหล่งน้ำ หรือพื้นที่ประกอบการอุตสาหกรรม เนื่องจากสะดวกในการขนส่งและท่าเรือ
  • กำหนดพื้นที่ที่จำเป็นต้องมี แต่ไม่มีผู้ใดต้องการ ได้แก่การประกอบอุตสาหกรรมที่มีของเสีย ฝุ่นหรือเสียง ที่อยู่ในภาวะ "NIMBY" (Not-In-My-Back-Yard) ให้มารวมอยู่กันเพื่อประสิทธิภาพในการจัดการ
  • กำหนดพื้นที่สีเขียวที่สอดคล้องกับลักษณะธรรมชาติและภูมิศาสตร์เพื่อเป็นแนวกั้นเขตการพัฒนา เพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและสัตว์ป่า นันทนาการและศิลปวัฒนธรรม
  • กำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติระดับภาคที่ทุกองค์กรบริหารส่วนท้องถิ่นในภาคนั้นๆ จะใช้ร่วมกันเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายเดียวกัน
  • กำหนดกฎหมายหรือข้องบังคับด้านการควบคุมการก่อสร้างในเชิงบวก เพื่อโน้มนำให้มีการพัฒนาที่เหมาะสมที่สุดกับพื้นที่นั้นๆ
อ้างอิง
  • onathan Barnett, Planning for a New Century: The Regional Agenda, ISBN 1-55963-806-0
  • Patricia E. Salkin, Supersizing Small Town America: Using Regionalism to Right-Size Big Box Retail, 6 Vermont Journal of Environmental Law 9 (2005)
  • Peter Calthorpe & William Fulton, The Regional City: Planning for the End of Sprawl, ISBN 1-55963-784-6

สถาปัตยกรรมผังเมือง

สถาปัตยกรรมผังเมือง


หน้า ๑๕ เล่ม ๑๒๓ ตอนที่ ๗๐ ก ราชกิจจานุเบกษา ๕ กรกฎาคม ๒๕๔๙ กฎกระทรวง กำหนดวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุมพ.ศ. ๒๕๔๙ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔ และมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติสถาปนิก พ.ศ.๒๕๔๓ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๙ และมาตรา ๕๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้ โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในกฎกระทรวงนี้
         “สาขาสถาปัตยกรรมผังเมือง” หมายความว่า วิชาชีพสถาปัตยกรรมที่ใช้ศาสตร์และศิลป์ในการ ออกแบบวางผังเพื่อสร้างสรรค์องค์ประกอบและสภาพแวดล้อมทางกายภาพของเมือง ชุมชนเมืองชุมชน และโครงการกลุ่มอาคารที่มีการใช้งานประเภทเดียวกันหรือหลายประเภท รวมถึงการวางผังเพื่อกำหนดกิจกรรม พื้นที่ ขนาด ความหนาแน่น ความสูง ที่โล่งหรือที่ว่างระหว่างอาคาร และโครงสร้างระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการภายในพื้นที่ดังกล่าว


ขอขอบคุณข้อมูลจาก






การผังเมือง
(จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี)

การผังเมือง หรือ การวางแผนชุมชนเมือง เป็นศาสตร์หนึ่ง เกี่ยวข้องกับสหสาขาวิชา เช่น การวางแผน กฎหมาย สถาปัตยกรรม สังคมศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ สิ่งแวดล้อม วิศวกรรมจราจร เพื่อเป็นการกำหนดนโยบาย กฎหมาย เกณฑ์ ระเบียบ การจัดวางผังและแผนการใช้พื้นที่ของเมือง ชุมชน โครงข่ายการจราจร
ผู้จัดทำผังเมือง เรียกว่า นักผังเมือง การวางผังเมืองมีหลายระดับ ตั้งแต่ ผังชุมชน ผังเมืองเฉพาะ ผังเมืองรวม ผังภาค จนถึงผังประเทศ โดยมีความละเอียดของการวางแผนที่ต่างกัน จากการออกแบบกายภาพ การใช้ที่ดิน(กำหนดโดยการใช้สี เช่น สีแดง หมายถึงย่านพานิชยกรรม สีเหลือง หมายถึงที่พักอาศัยหนาแน่นน้อย เป็นต้น) ความหนาแน่น โครงข่าย/ระบบจราจรและขนส่ง หรือพื้นที่สีเขียว/สวนสาธารณะ มักมีประกาศกฎเกณฑ์ประกอบแผนในรูปกฎหมายประกอบอยู่ด้วย
ในประเทศไทยหน่วยงานของรัฐฯที่เป็นองค์กรหลักในการจัดทำผังเมืองคือ กรมโยธาธิการและผังเมือง ส่วนกรุงเทพมหานครได้รับการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น กำหนดให้มีหน่วยงานที่ดูแลจัดทำผังเมืองของตนเอง คือ สำนักผังเมือง กรุงเทพมหานคร
ได้มีการกำหนดให้วันที่ 8 พฤศจิกายน ของทุกปี เป็น "วันผังเมืองโลก" (World Town Planning Day) โดยมีองค์กรหลักที่เกี่ยวข้องคือ The International Society of City and Regional Planners (IsoCaRP) ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ และ The America Institute of Certified Planners (AICP) เป็นศูนย์กลางด้านวิชาการวางผังเมืองนานาชาติ

ศาสตร์ของเรา

ศาสตร์ของเรา
เสน่ห์แห่งท้องถิ่น...

I'am

พลูโต...ที่รัก