PIYADA_AUD

ยินดีต้อนรับสู่บ้านของเรา สถาปัตยกรรมของเรา


สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเป็นสิ่งที่มีคุณค่าในตัวเอง

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเป็นของที่ไม่ละเมียดละไม...แต่งดงาม

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเป็นของที่ไม่ถาวร...แต่ยั่งยืน

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเป็นของที่ง่ายๆ...แต่ทรงภูมิปัญญา

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเป็นของธรรมดา...แต่มีอัตลักษณ์


และที่สำคัญสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเป็นสถาปัตยกรรมแห่งความจริง
ทุกอณูในเนื้องานสะท้อนความจริงของวัสดุ โครงสร้าง ภูมิปัญญาท้องถิ่น

สะท้อนความจริงของปัจจัยแวดล้อม
สะท้อนความจริงของวิถีการใช้สอย

จึงพูดได้ว่า เป็นสถาปัตยกรรมแห่งสัจจะ...ไร้มายา...จึงมีคุณค่าเหนือกาลเวลา


วันจันทร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

งานสถาปนิก







เกี่ยวกับสถาปนิก







 








สถาปนิกที่มีชื่อเสียงจากอดีตถึงปัจจุบัน

สถาปนิกที่มีชื่อเสียงจากอดีตถึงปัจจุบัน

ในประเทศไทย
สถาปนิกที่ได้รับพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา
สถาปนิกที่ได้รับรางวัลศิลปินแห่งชาติ
สถาปนิกที่เป็นกรรมการสภาสถาปนิก

รายชื่อสถาปนิกที่คัดเลือกโดยสมาคมสถาปนิกสยาม ในบทความ "Reinvent" จำนวน 23 ท่าน[1]
อื่นๆ

สถาปนิก

สถาปนิก
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สถาปนิก คือบุคคลผู้เกี่ยวข้องในการออกแบบ และ วางแผน ในการก่อสร้าง หรือที่เรียกว่างานสถาปัตยกรรม โดยสถาปนิก จะเป็นผู้ที่เข้าใจในมาตรฐานการก่อสร้างของอาคาร เข้าใจถึงหน้าที่ใช้สอยของอาคารนั้น รวมถึงวัสดุที่จะนำมาเป็นส่วนประกอบของสิ่งก่อสร้างนั้น สถาปนิกจำเป็นต้องได้รับการศึกษาทางสถาปัตยกรรมศาสตร์ และได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม ถึงจะสามารถทำงานในวิชาชีพสถาปนิกได้ ซึ่งคล้ายกับการทำงานในสาขาวิชาชีพอื่น
สถาปก คำเก่าของคำว่าสถาปนิก ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เป็นศัพท์ภาษาสันสกฤต หมายถึง ผู้สร้าง, ผู้ก่อตั้ง ในเอกสารโบราณก่อนสมัยรัตนโกสินทร์เคยปรากฏคำ "สถาบก" หมายถึง การสร้าง หรือผู้สร้าง
รางวัลที่น่ายกย่องของสถาปนิกที่รู้จักในฐานะผู้ก่อสร้างอาคารได้แก่ รางวัลพลิตซ์เกอร์ ซึ่งมักจะถูกเปรียบเทียบเหมือนกับ "รางวัลโนเบลในทางสถาปัตยกรรม"

สถาปนิก คือบุคคลผู้เกี่ยวข้องในการออกแบบ และ วางแผน ในการก่อสร้าง หรือที่เรียกว่างานสถาปัตยกรรม โดยสถาปนิก จะเป็นผู้ที่เข้าใจในมาตรฐานการก่อสร้างของอาคาร เข้าใจถึงหน้าที่ใช้สอยของอาคารนั้น รวมถึงวัสดุที่จะนำมาเป็นส่วนประกอบของสิ่งก่อสร้างนั้น สถาปนิกจำเป็นต้องได้รับการศึกษาทางสถาปัตยกรรมศาสตร์ และได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม ถึงจะสามารถทำงานในวิชาชีพสถาปนิกได้ ซึ่งคล้ายกับการทำงานในสาขาวิชาชีพอื่น
สถาปก คำเก่าของคำว่าสถาปนิก ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เป็นศัพท์ภาษาสันสกฤต หมายถึง ผู้สร้าง, ผู้ก่อตั้ง ในเอกสารโบราณก่อนสมัยรัตนโกสินทร์เคยปรากฏคำ "สถาบก" หมายถึง การสร้าง หรือผู้สร้าง
รางวัลที่น่ายกย่องของสถาปนิกที่รู้จักในฐานะผู้ก่อสร้างอาคารได้แก่ รางวัลพลิตซ์เกอร์ ซึ่งมักจะถูกเปรียบเทียบเหมือนกับ "รางวัลโนเบลในทางสถาปัตยกรรม"
สถาปนิก คือบุคคลผู้เกี่ยวข้องในการออกแบบ และ วางแผน ในการก่อสร้าง หรือที่เรียกว่างานสถาปัตยกรรม โดยสถาปนิก จะเป็นผู้ที่เข้าใจในมาตรฐานการก่อสร้างของอาคาร เข้าใจถึงหน้าที่ใช้สอยของอาคารนั้น รวมถึงวัสดุที่จะนำมาเป็นส่วนประกอบของสิ่งก่อสร้างนั้น สถาปนิกจำเป็นต้องได้รับการศึกษาทางสถาปัตยกรรมศาสตร์ และได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม ถึงจะสามารถทำงานในวิชาชีพสถาปนิกได้ ซึ่งคล้ายกับการทำงานในสาขาวิชาชีพอื่น
สถาปก คำเก่าของคำว่าสถาปนิก ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เป็นศัพท์ภาษาสันสกฤต หมายถึง ผู้สร้าง, ผู้ก่อตั้ง ในเอกสารโบราณก่อนสมัยรัตนโกสินทร์เคยปรากฏคำ "สถาบก" หมายถึง การสร้าง หรือผู้สร้าง
รางวัลที่น่ายกย่องของสถาปนิกที่รู้จักในฐานะผู้ก่อสร้างอาคารได้แก่ รางวัลพลิตซ์เกอร์ ซึ่งมักจะถูกเปรียบเทียบเหมือนกับ "รางวัลโนเบลในทางสถาปัตยกรรม"



หน้าที่ของสถาปนิกกับโครงการก่อสร้างในยุคปัจจุบัน
 ในรูปแบบที่เกิดขึ้นเป็นส่วนใหญ่ สถาปนิกจะทำสัญญากับเจ้าของโครงการ(Owner) โดยรับหน้าที่เป็นผู้ให้บริการวิชาชีพ ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการก่อสร้าง ผ่านทางการออกแบบ(Building Design) และการทำแเบบก่อสร้าง(Construction Document) สถาปนิกจะมีที่ปรึกษาผู้ให้คำแนะนำในเรื่องเทคนิคระดับซับซ้อนคือ วิศวกร ซึ่งจะเป็นผู้เชี่ยวชาญในแต่ละแขนงเกี่ยวกับการก่อสร้าง
โดยทั่วไปสำหรับโครงการขนาดกลาง วิศวกรเหล่านี้จะประกอบด้วย วิศวกรโครงสร้าง (Structural Engineer) วิศวกรโยธา (Civil Engineer) วิศวกรไฟฟ้า (Electrical Engineer) วิศวกรประปา (Plumbing Engineer) และ วิศวกรเครื่องกล (Mechanical Engineer) นอกจากนี้อาจจะมีที่ปรึกษาอื่นๆที่สำคัญ เช่น มัณฑนากร(Interior Designer) และ ภูมิสถาปนิก (Landscape Architect)เป็นต้น
นักวิชาชีพทั้งหมดนี้จะทำงานร่วมกันเป็นทีม ผ่านการประสานงานของสถาปนิก ซึ่งเป็นผู้นำของทีม (Team Leader)และผู้ติดต่อประสานงานระหว่างทีม(Coordinator)เพราะที่ปรึกษาอื่นๆ จะไม่มีใครเข้าใจภาพรวมของโครงการเท่าสถาปนิก
ด้วยสาเหตุของความเข้าใจในโครงการที่มากกว่าสมาชิกในทีมคนอื่นๆ ทำให้สถาปนิกเป็นผู้ที่ติดต่อกับเจ้าของโดยตรงในการทำโครงการ นักวิชาชีพในทีมคนอื่นๆ ที่ต้องการติดต่อกับเจ้าของมักจะทำผ่านสถาปนิก หรือในบางกรณีสถาปนิกจะไม่อนุญาตให้สมาชิกในทีมคนอื่นๆ ติดต่อกับเจ้าของโดยตรงเลย เพราะจะเป็นการเกิดความสับสนในระบบการประสานงานและปฏิบัติการ
ถ้านักวิชาชีพเหล่านี้ทำสัญญาการว่าจ้างกับสถาปนิก สถาปนิกจะมีสถาณภาพเป็นผู้นำของทีมออกแบบ (Leader) แต่ถ้านักวิชาชีพเหล่านี้ทำสัญญาโดยตรงกับเจ้าของ สถาปนิกจะมีสภาณภาพเป็นผู้ประสานงาน (Coordinator) โดยส่วนใหญ่สถาปนิกจะทำสัญญาว่าจ้างกับนักวิชาชีพเหล่านี้เพื่อจะได้เกิดการควบคุมคุณภาพและสั่งการโครงการได้สะดวก แต่ในบางกรณี สถาปนิกอาจจะต้องการหลีกเลี่ยงการทำสัญญากับนักวิชาชีพเหล่านี้ โดยเฉพาะถ้าเป็นโครงการที่ใหญ่เป็นพิเศษที่สถาปนิกต้องมีความรับผิดชอบสูงมาก อาจเกิดความเสี่ยงต่อการรับผิดชอบความเสียหาย (Liability)มากจนไม่คุ้มกับค่าบริการวิชาชีพที่จะได้รับ สถาปนิกจะแนะนำให้เจ้าของโครงการทำสัญญาโดยตรงกับนักวิชาชีพเหล่านั้น
อีกด้านหนึ่ง เจ้าของโครงการ (Owner) จะทำสัญญากับผู้รับเหมาก่อสร้าง (Contractor) เพื่อให้ทำการก่อสร้าง ตามแบบก่อสร้าง (Construction Documents)และ รายการประกอบแบบ (Specification) ที่สถาปนิกและทีมผู้ช่วยทั้งหลายได้ทำการออกแบบ

ขั้นตอนการให้บริการวิชาชีพของสถาปนิก

สถาปนิกจะทำการบริการวิชาชีพตามขั้นตอนต่อไปนี้
1. ออกแบบเบื้องต้น (Schematic Design)
2. ออกแบบรายละเอียด (Design Development หรือ DD)
3. ทำแบบก่อสร้าง (Construction Document)
4. การประมูลและเจรจาต่อรอง (Bidding and Negotiation)
5. บริหารงานก่อสร้าง (Construction Administration)
ในบางโครงการ อาจจะมีการเข้าไปรับงานเป็นทีม โดยเจ้าของทำสัญญากับทีมก่อสร้างเพียงสัญญาเดียว ซึ่งประกอบไปด้วย ผู้รับเหมาก่อสร้าง สถาปนิก และ ที่ปรึกษาอื่นๆ รวมตัวกันเป็นหนึ่ง โดยการทำสัญญาโดยตรงนี้ จะเรียกว่า เป็นการบริการแบบ ดีไซน์บิลด์ (Design Build)

ขอบเขตงานของสถาปนิก

สถาปนิกในปัจจุบันได้มีการขยายขอบเขตการประกอบวิชาชีพไปในหลายๆ ด้านที่เป็นแนวทางเฉพาะ เช่น
1. งานด้านออกแบบ (Design)
2. งานด้านการบริหารโครงการ (Construction Management)
3. งานด้านการบริหารการใช้พลังงานในอาคาร (Building Energy Management)
4. งานด้านการออกแบบการให้แสง (Lighting Design)
5. งานด้านบริหารจัดการอาคาร (Facility Management)
6. งานด้านอนุรักษ์ (Preservation)
7. งานตรวจสอบมาตรฐานและความปลอดภัยของอาคาร (Building Inspection)

ศิลปะกับสถาปัตยกรรม

ศิลปะกับสถาปัตยกรรม
   ARTgazine Articles -> บทความศิลปะ

   
ศิลปะกับสถาปัตยกรรม โดย แคลวิน ทอมคินส์
จากนิตยสาร The New Yorker

        ในช่วงทศวรรสุดท้าย บรรดางานศิลปขนาดใหญ่ ซึ่งมีไม่น้อยที่เป็นประเภทนามธรรมล้วนๆได้แพร่หลายออกไปอย่างมากทั่วทั้งสหรัฐ โดยที่งานนี้เกิดจากการแสดงอารมณ์ของศิลปินเองออกมา จึงได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ว่าเข้ากันไม่ได้อย่างสิ้นเชิงกับสิ่งแวดล้อมโดยรอบ.
อย่างไรก็ตาม แคลวิน ทอมคินส์ ให้ทรรศนะว่า ศิลปินผู้บุกเบิกจำนวนหนึ่งได้ริเริ่มสร้างศิลปะประเภทที่มุ่งประโยชน์มากกว่าขึ้นมาใหม่ โดยที่มีการนำเอาเรื่องการใช้ประโยชน์จากที่ว่างของประชาชน ตลอดจนความต้องการในสถานที่นั้นๆมาเป็นข้อพิจารณา งานทั้งหลายนี้จึงมีลักษณะเหมือนๆกับการให้ความสนใจแต่เดิมของงานสถาปัตยกรรม
ทอมคินส์ ซึ่งเป็นนักวิจารณ์ศิลปกรรมประจำนิตย์สารThe New Yorker: คือผู้ประพันธ์หนังสือเรื่อง The Scene:Reports on Post-Modern Art.
----------------------------


                 การผสมผสานกันระหว่างศิลปะกับสถาปัตยกรรมย่อมต้องมีอุปสรรคอยู่บ้าง กระนั้นก็ดี ปรากฎว่าความเกี่ยวพันแบบขาดๆหายๆ มาแต่โบราณกาลนี้กำลังจะก้าวเข้าสู่ระยะใหม่ที่ได้รับแรงกระตุ้นเป็นบางส่วนโดยโครงการศิลปะในที่สาธารณะต่างๆ
รอเบิร์ต เออร์วิน ศิลปินผู้ซึ่งมีความผูกพันอย่างลึกซึ้งกับโครงการศิลปในที่สาธารณะทั้งหลาย ได้กล่าวบางสิ่งบางอย่างที่อาจหาญไว้ในปาฐกถาของเขา ตามความเห็นของเออร์วิน ศิลปในที่สาธารณะ(Public Art)คือคำนิยามใหม่ของคำว่าศิลปะในยุคของเรา . เขากล่าวว่า ในสังคมที่ใช้คอมพิวเตอร์กันมากขึ้นนี้ งานที่จำเป็นยิ่งของศิลปินก็คือการรักษาความสัมพันธ์กับมนุษย์เอาไว้ คือพยายามสอดใส่คุณค่าของมนุษย์เข้าไปในการตัดสินใจต่างๆ ซึ่งใช้เทคโนโลยี่ชั้นสูงเข้าช่วย,งานต่างๆของตัวเออร์วินเองครอบคุมด้านต่างๆ อย่างกว้างขวาง นับตั้งแต่ประเภทที่มุ่งประโยขน์ใช้สอยพอประมาณไปจนถึงประเภทที่จัดว่ามุ่งที่สุนทรียภาพอย่างสูง ทว่า ทั้งหมดล้วนมีบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับสถาปัตยกรรมด้วย. งานของเขาส่วนใหญ่ได้รับการเห็นชอบและสร้างขึ้นมา ปัญหาที่แท้จริงของเขามิได้เกี่ยวกับสถาบันศิลปะ หากแต่อยู่ที่บรรดาวิศวกรด้านความปลอดภัย,นักการเมืองและผู้วางผังเมือง(เขาบอกว่า โครงการศิลปในเมืองส่วนใหญ่มิได้มีลักษณะของเมืองใหญ่ที่แท้จริง เพราะโดยมากมักจะไปอยู่ตามสวนสาธารณะหรือไม่ก็บนพื้นที่ว่างเปล่า)กระนั้นก็ตาม แม้จะมีปัญหาต่างๆเป็นอันมาก แต่ความต้องการงานของเขากลับเพิ่มขึ้นเรื่อยๆสำหรับตัวเขาและศิลปินอื่นๆอีกจำนวนหนึ่งเป็นต้นว่า ซีอาห์ อาร์มาจานี, สก๊อต เบอร์ตัน,ริชาร์ด ไฟลช์เนอร์, มารี่ มิส , แจ๊คกี้ เฟอร์รารา , จอร์จ ทราคาส , แนนซี่ โฮท์, เจมส์ เทอร์เรล , เอเธนนา ทาชา , และคนอื่นๆอีกห้าหกคน, แต่ทว่างานของศิลปินเหล่านี้บางครั้งก็แทบจะแยกไม่ออกจากสถาปัตยกรรม. ศิลปินกลุ่มนี้สนใจที่จะประดิษฐ์โครงสร้างต่างๆ ด้วยความมุ่งหมายด้านให้ประโยชน์ใช้สอยมากกว่าที่จะสร้างปฎิมากรรมให้กับห้องแสดงศิลปกรรมหรือนักสะสม.เรื่องนี้ออกจะทำให้เหล่าสถาปนิกกระวนกระวายใจบ้างเล็กน้อย,"สถาปนิกหลายคนรู้สึกว่าเรากำลังแย่งทำสิ่งที่พวกเขากำลังทำ," อาจานี่กล่าว "ทว่างานของเรามิได้มีความมุ่งหมายเช่นนั้น งานของเรามิได้มุ่งหวังที่จะเพิ่มคุณค่าของสถาปัตยกรรมหรือว่าดัดแปลงแก้ไขใหม่ หากแต่เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของกันและกันเหมือนกับน้ำที่อยู่ในถ้วยแก้ว ก็เพราะว่า สถานที่สาธารณะนั้นอยู่ล้อมรอบตัวเราทั้งสองฝ่าย."


อามาจานี ได้รับความเคารพนับถือเป็นอย่างมากจากศิลปินท่านอื่นๆ ในกลุ่มนี้, เขาเกิดในเตหะราน ประเทศอิหร่าน ออกเดินทางมายังสหรัฐในปี ค.ศ.1960 ขณะมีอายุได้ 20ปี เพื่อมาศึกษาที่แมคอะเลสเตอร์ คอลเลจ ในเมืองเซนต์พอล รัฐมินนีโซตา แล้วก็อาศัยอยู่ในแถบนั้น. ศิลปะสำหรับเขาเป็นเรื่องของการเรียนรู้สังคม เป็นหนทางที่จะทำให้เข้าใจอเมริกา, การศึกษาสถาปัตย์กรรมอเมริกาของเขาในระยะแรกๆ ซึ่งได้แก่การศึกษาเกี่ยวกับ กระท่อมไม้ซุง, สะพาน , ยุ้งฉาง , ทำให้เขาสร้างผลงานชิ้นแรกๆของเขาเองขึ้นมาเป็นสะพานอุปมาที่มิได้นำไปสู่ที่ใด โดยสร้างขึ้นจากไม้สนในลักษณะลวกๆ แต่ใช้การได้ดีแบบเดียวกับของคนรุ่นบุกเบิก, จากนั้นเขาก็ออกแบบงานที่มีโครงสร้างใหญ่กว่า ซึ่งใช้ประโยชน์ได้ อย่างเช่น สำนักงาน, ห้องอ่านหนังสือ แผงหนังสือพิมพ์, โดยใช้วัสดุธรรมดาๆทั่วไปและใช้ฝีมือช่างไม้ธรรมดา,เขากล่าวไว้ว่าเขามีความตั้งใจที่จะ"สร้างสถานที่ชุมนุมสังสรรค์ต่างๆที่อยู่กลางแจ้งเพื่อให้ประชาชนใช้ร่วมกันอย่างเกิดประโยชน์และใช้ได้ตลอดเวลา."งานต่างๆที่เขาได้รับมอบหมายให้ทำประกอบด้วย ย่านการค้าสำหรับเดินซื้อของ ,อุทยานกวีนิพนธ์ , ห้องสมุดสำหรับวิทยาลัยศิลปกรรมและออกแบบ แห่งแมรี่แลนด์ ในซิลเวอร์ สปิง, สะพานสำหรับวนอุทยาน แห่งหนึ่งในนครซีแอ๊ตเติล,และ"ห้องเพื่อเป็นเกียรติแก่เฮนรี่ เดวิด ธอโร"ซึ่งเป็นวีรบุรุษผู้หนึ่งที่เขายกย่อง ณ สถานที่ตั้งซึ่งอยู่ไม่ไกลจากวอลเด็นพอนด์ รัฐแมสสาชูเสทส์.
อาร์มาจานีเชื่อว่า ศิลปินกับสถาปนิกสามารถจะและน่าจะทำงานร่วมกันในสมัยปัจจุบันนี้เหมือนกับที่เคยกระทำมาแล้วเป็นบางช่วงบางสมัยในอดีด
การร่วมงานกันในแบบที่อาร์มาจานีและสหายร่วมงานของเขาคิดไว้นั้นไปไกลเกินกว่าการสร้างงานศิลปไปแสดงไว้ในที่สาธารณะต่างๆอย่างที่ทำกันในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาซึ่งบรรดาศิลปินได้รับการว่าจ้างให้จัดทำงานศิลปะขึ้นสำหรับไปติดตั้งบริเวณที่ว่างที่เว้นไว้ของสถาปัตยกรรมซึ่งมีอยู่แล้ว ไม่ว่าจะวางแผนไว้ก่อนหรือว่ามาคิดกันในตอนหลังก็ตาม, งานศิลปกรรมจำนวนมากมายได้รับการติดตั้งในลักษณะนี้ โดยอาศัยเงินอุดหนุนของรัฐหรือเงินอุดหนุนจากองค์การปกครองท้องถิ่นซึ่งในหลายรายน่าเสียดายที่ไม่ดีคุ้มค่า. ทั้งนี้เพราะศิลปินใช้วิธีง่ายๆโดยนำผลงานที่ออกแบบไว้แล้วหรือทำเสร็จไว้ก่อนแล้วนำไปตั้งลงในห้องโถงใหญ่ๆหรือลานสาธารณะกว้างๆที่มอบให้เขาดำเนินการ. ตามปกติศิลปินไม่มีสิทธิออกความเห็นเกี่ยวกับแบบแผนสถานที่ตั้ง และบ่อยมากทีเดียวที่อาคารโดยรอบ เช่น อาคารที่ทำการของรัฐบาลและอะไรๆพวกเดียวกันนี้ จะมีลักษณะไม่น่าดูจนทำให้งานศิลปะดูไม่เด่น, กระนั้นก็ดี จากโครงการศิลปะในที่สาธารณะทำให้ศิลปินจำนวนหนึ่งและราษฎรธรรมดาอีกไม่ทราบจำนวน หันมาพิจาราณาดูปัญหาเรื่องศิลปะในที่สาธารณะทั้งหมดด้วยทัศนะใหม่ๆ

หนึ่งในบรรดาอุปสรรคที่มากับการร่วมงานใดๆก็ตามระหว่างสถาปนิกกับศิลปินได้แก่ ความแตกต่างกันอย่างมากมายในวิธีการที่บุคคลทั้งสองกลุ่มเข้าดำเนินงานของตน, ที่สำคัญที่สุด งานสถาปัตยกรรมเป็นแขนงวิชาเพื่อสังคมรูปหนึ่งซึ่งว่าด้วยการตอบสนองความต้องการนานาชนิดที่มีความเกี่ยวพันกับสุนทรียภาพเพียงเล็กน้อย ทุกสิ่งที่สถาปนิกสร้างขึ้นจะต้องได้รับการวางแผนและออกแบบอย่างพิถีพิถันละเอียดละออลงบนกระดาษก่อนแม้แต่รายละเอียดปลีกย่อยที่เล็กที่สุด, ศิลปินส่วนมากใช้วิธีทดลองไปเรื่อยๆโดยไม่มีอะไรตายตัวแน่นอนและมีน้อยเหลือเกินในปัจจุบันที่งานขั้นสุดท้ายจะมีรูปแบบถอดออกมาโดยตรงตามลำดับจากภาพร่างเบื้องต้น, ปัญหาเช่นว่านี้ได้รับการยกมากล่าวถึงไว้อย่างชัดเจน โดยสถานิก ฮิวจ์ ฮาร์ดี เมื่อเขาให้สัมภาษณ์กับบาร์บาราลี ไดอามอนสดีน สำหรับลงพิมพ์ในหนังสือของเธอเรื่องAmerican Architecture Now ว่า"การร่วมงานกับพวกศิลปินทำความสับสนให้กับกระบวนการต่างๆที่สถาปนิกวาดมโนภาพไว้"
ถึงแม้ว่า สถาปนิกที่มีชื่อเสียงส่วนใหญ่จะมีทีท่าว่าจะเห็นด้วยกับฮาร์ดี้ แต่ผู้หนึ่งในบรรดาศิลปินที่มีชื่อเสียงที่สุด คือ ไอ.เอ็ม.เปอี จะมีการไคร่ครวญบ้างเหมือนกัน จากการให้สัมภาษณ์กับไดโดมอน สตีน เขาพูดถึงอาคารของ MIT นี้ว่า" งานของศิลปินจะไม่เป็นเพียงศิลปะวัติถุชิ้นหนึ่งซึ่งไปตั้งอยู่ในที่ว่างหรือแขวนไว้บนผนังตึก แต่มันจะเป็นส่วนหนึ่งของต้วอาคาร เป็นส่วนหนึ่งของสิ่งแวดล้อมที่จะดำรงอยู่ตลอดไป" เปอียังกล่าวอีกด้วยว่า หมดสมัยแล้วที่คนๆเดียวจะเป็นทั้งศิลปินและสถาปนิก " ความสลับซับซ้อนในด้านวิทยาการของชีวิตสมัยนี้จะปิดกั้นมิให้คนเราเป็นเหมือนสมัยเรอเนซองค์ได้อีก, ผมไม่คิดว่าเราจะพบบุคคลเช่นว่านั้นอีกต่อไปแล้ว. ฉนั้น ศิลปินและสถาปนิกจะต้องเริ่มทำความเข้าใจซึ่งกันและกัน,เรื่องนี้เรายังไม่สามารถทำได้ดี,ทุกวันนี้ผมคิดว่าบรรดาศิลปินต่างมีความรู้สึกว่าถูกทอดทิ้ง พวกเขายังรู้สึกอีกด้วยว่า พวกเขาก้าวล้ำหน้าบรรดาสถาปนิกทั้งหลายไปมาก "


สิ่งหนึ่งที่ อาร์มาจานี, เออร์วิน, ไฟลช์เนอร์, เบอร์ตัน และผู้ร่วมแนวทางของพวกเขาดูเหมือนจะเห็นพ้องกันก็คือ การทำงานในภาคที่เกี่ยวกับประชาชน หมายถึง ต้องทิ้งคัมภีร์แห่งศิลปะบางอย่างไปบ้าง, พูดกว้างๆก็หมายถึงการขจัดการทำเพื่อตนเองของศิลปินทิ้งไป. "ในฐานะศิลปินของประชาชน คุณต้องทำงานภายในกรอบรสนิยมของประชาชน" เบอร์ตันกล่าว" จำต้องมีการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์. คุณทำงานร่วมกับนักพัฒนา กับสถาปนิก และกับนักการเมือง และคุณจะต้องไม่ผูกพันกับความคิดอย่างใดอย่างหนึ่งจนหมดทั้งตัว"

การออกแบบ Design

การออกแบบ  Design
  การออกแบบ  หมายถึง การถ่ายทอดรูปแบบจากความคิดออกมาเป็นผลงาน ที่ผู้อื่น
สามารถมองเห็น รับรู้ หรือสัมผัสได้  เพื่อให้มีความเข้าใจในผลงานร่วมกัน
        ความสำคัญของการออกแบบ มีอยู่หลายประการ กล่าวคือ
1.ในแง่ของการวางแผนการการทำงาน งานออกแบบจะช่วยให้การทำงานเป็นไปตาม
   ขั้นตอน อย่างเหมาะสม และประหยัดเวลา ดังนั้นอาจถือว่าการออกแบบ คือ การวาง
   แผนการทำงานก็ได้
2. ในแง่ของการนำเสนอผลงาน ผลงานออกแบบจะช่วยให้ผู้เกี่ยวข้องมีความเข้าใจ
    ตรงกันอย่างชัดเจน  ดังนั้น ความสำคัญในด้านนี้ คือ เป็นสื่อความหมายเพื่อความเข้าใจ
    ระหว่างกัน
3. เป็นสิ่งที่อธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับงาน งานบางประเภทอาจมีรายละเอียดมากมาย
   ซับซ้อน ผลงานออกแบบจะช่วยให้ผู้เกี่ยวข้อง และผู้พบเห็นมีความเข้าใจที่ชัดเจนขึ้น
   หรืออาจกล่าวได้ว่า ผลงานออกแบบ คือ ตัวแทนความคิดของผูออกแบบได้ทั้งหมด
4. แบบ จะมีความสำคัญอย่างที่สุด ในกรณีที่ นักออกแบบกับผู้สร้างงานหรือผู้ผลิต
    เป็นคนละคนกัน เช่น สถาปนิกกับช่างก่อสร้าง  นักออกแบบกับผู้  ผลิตในโรงงาน
    หรือถ้าจะเปรียบไปแล้ว นักออกแบบก็เหมือนกับคนเขียนบทละครนั่นเอง

แบบ 
เป็นผลงานจากการออกแบบ เป็นสิ่งที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์และฝีมือของ

นักออกแบบ แบบมีอยู่หลายลักษณะ ดังนี้ คือ
        1. เป็นภาพวาดลายเส้น (drawing) ภาพระบายสี (Painting) ภาพถ่าย (Pictures)
หรือแบบร่าง (Sketch) แบบที่มีรายละเอียด (Draft) เช่น แบบก่อสร้าง   ภาพพิมพ์
(Printing) ฯลฯ ภาพต่าง ๆ ใช้แสดงรูปลักษณะของงาน หรือแสดงรายละเอียดต่าง ๆ
เกี่ยวกับงาน ที่เป็น 2 มิติ
        2. เป็นแบบจำลอง (Model) หรือของจริง เป็นแบบอีกประเภทหนึ่งที่ใช้แสดง
รายละเอียดของงานได้ชัดเจนกว่าภาพต่าง ๆ เนื่องจากมีลักษณะเป็น 3 มิติ ทำให้
สามารถเข้าใจในผลงานได้ดีกว่า นอกจากนี้ แบบจำลองบางประเภทยังใช้งานได้
เหมือนของจริงอีกด้วยจึงสมารถใช้ในการทดลอง และทดสอบการทำงาน เพื่อหา
ข้อบกพร่องได้


ประเภทของการออกแบบ 1. การออกแบบทางสถาปัตยกรรม (Architecture Design) เป็นการออกแบบเพื่อ
การก่อสร้าง สิ่งก่อสร้างต่าง ๆ นักออกแบบสาขานี้ เรียกว่า สถาปนิก (Architect) ซึ่ง
โดยทั่วไปจะต้องทำงานร่วมกับ วิศวกรและมัณฑนากร โดยสถาปนิก รับผิดชอบเกี่ยว
กับประโยชน์ใช้สอยและความงามของสิ่งก่อสร้าง งานทางสถาปัยตกรรมได้แก่
- สถาปัตยกรรมทั่วไป เป็นการออกแบบสิ่งก่อสร้างทั่วไป เช่น อาคาร บ้านเรือน ร้านค้า  โบสถ์  วิหาร  ฯลฯ
- สถาปัตยกรรมโครงสร้าง เป็นการออกแบบเฉพาะโครงสร้างหลักของอาคาร
- สถาปัตยกรรมภายใน  เป็นการออกแบบที่ต่อเนื่องจากงานโครงสร้าง ที่เป็นส่วนประกอบของอาคาร
- งานออกแบบภูมิทัศน์ เป็นการออกแบบที่มีบริเวณกว้างขวาง  เป็นการจัดบริเวณพื้นที่ต่าง ๆ
   เพื่อให้เหมาะสมกับประโยชน์ใช้สอยและความสวยงาม
- งานออกแบบผังเมือง เป็นการออกแบบที่มีขนาดใหญ่ และมีองค์ประกอบซับซ้อน ซึ่งประกอบ
   ไปด้วยกลุ่มอาคารจำนวนมาก ระบบภูมิทัศน์ ระบบสาธารณูปโภค ฯลฯ

2. การออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product Design) เป็นการออกแบบเพื่อการผลิต ผลิตภัณฑ์
ชนิดต่าง ๆงานออกแบบสาขานี้ มีขอบเขตกว้างขวางมากที่สุด และแบ่งออกได้มากมาย
หลาย ๆ ลักษณะ นักออกแบบรับผิดชอบเกี่ยวกับประโยชน์ใช้สอยและความสวยงามของ
ผลิตภัณฑ์  งานออกแบบประเภทนี้ได้แก่
- งานออกแบบเฟอร์นิเจอร์
- งานออกแบบครุภัณฑ์
- งานออกแบบเครื่องสุขภัณฑ์
- งานออกแบบเครื่องใช้สอยต่างๆ
- งานออกแบบเครื่องประดับ  อัญมณี
- งานออกแบบเครื่องแต่งกาย
- งานออกแบบภาชนะบรรจุผลิตภัณฑ์
- งานออกแบบผลิตเครื่องมือต่าง ๆ   ฯลฯ

3. การออกแบบทางวิศวกรรม (Engineering Design) เป็นการออกแบบเพื่อการผลิต
ผลิตภัณฑ์ชนิดต่าง ๆ เช่นเดียวกับการออกแบบผลิตภัณฑ์ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกัน ต้องใช้
ความรู้ความสามารถและเทคโนโลยีในการผลิตสูง ผู้ออกแบบคือ วิศวกร ซึ่งจะรับผิดชอบ
ในเรื่องของประโยชน์ใช้สอย ความปลอดภัยและ กรรมวิธีในการผลิต  บางอย่างต้องทำงาน
ร่วมกันกับนักออกแบบสาขาต่าง ๆ ด้วย งานอกแบบประเภทนี้ได้แก่
- งานออกแบบเครื่องใช้ไฟฟ้า
- งานออกแบบเครื่องยนต์
- งานออกแบบเครื่องจักรกล
- งานออกแบบเครื่องมือสื่อสาร
- งานออกแบบอุปกณ์อิเลคทรอนิคส์ต่าง ๆ   ฯลฯ


4. การออกแบบตกแต่ง (Decorative Design) เป็นการออกแบบเพื่อการตกแต่งสิ่งต่าง ๆ
ให้สวยงามและเหมาะสมกับประโยชน์ใช้สอยมากขึ้น นักออกแบบเรียนว่า มัณฑนากร

(Decorator) ซึ่งมักทำงานร่วมกับสถาปนิก งานออกแบบประเภทนี้ได้แก่
- งานตกแต่งภายใน (Interior Design)
- งานตกแต่งภายนอก  (Exterior Design)
- งานจัดสวนและบริเวณ ( Landscape Design)
- งานตกแต่งมุมแสดงสินค้า (Display)
- การจัดนิทรรศการ (Exhibition)
- การจัดบอร์ด
- การตกแต่งบนผิวหน้าของสิ่งต่าง ๆ เป็นต้น  ฯลฯ


5. การออกแบบสิ่งพิมพ์ (Graphic Design) เป็นการออกแบบเพื่อทางผลิตงานสิ่งพิมพ์

ชนิดต่าง ๆ ได้แก่ หนังสือ  หนังสือพิมพ์  โปสเตอร์  นามบัตร  บัตรต่าง ๆ  งานพิมพ์ลวดลายผ้า
งานพิมพ์ภาพลงบนสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ  งานออกแบบรูปสัญลักษณ์   เครื่องหมายการค้า  ฯลฯ

 

วันศุกร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2554

ผังเมืองในประเทศไทย

ผังเมืองในประเทศไทย


                        นักผังเมือง ในประเทศไทย ขึ้นอยู่กับ 2 สมาคมวิชาชีพ คือ สมาคมนักผังเมืองไทย(Thai City Planners Society-TCPS) และสมาคมสถาปนิกชุมชนเมืองไทย (Association of Thai Urban Designers - TUDA) ปัจจุบันสมาคมสถาปนิกชุมชนเมืองไทยเป็นส่วนหนึ่งของสาขาสถาปัตยกรรมผังเมือง ในสภาสถาปนิก วิชาชีพผังเมืองจึงเป็นวิชาชีพควบคุมตามพระราชบัญญัติสถาปนิก ดังจะเห็นได้จาก กฎกระทรวงว่าด้วยวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุมฯ ปี 2549[1])ที่ระบุว่างานสถาปัตยกรรมผังเมืองควบคุมได้แก่ พื้นที่ที่มีการบังคับใช้ผังเมืองรวม ผังเมืองเฉพาะ, งานจัดรูปที่ดิน, การจัดสรรที่ดิน, งานอนุรักษ์ศิลปกรรมและสิ่งแวดล้อม, งานในพื้นที่เขตเพลิงไหม้และเขตภัยพิบัติ, นิคมอุตสาหกรรม, กลุ่มอาคารขนาดใหญ่-ใหญ่พิเศษ อาคารสาธารณะ อาคารสูง อาคารพิเศษ พื้นที่รวมกัน 30,000 ตารางเมตรขึ้นไป
เดิมวิชาผังเมืองเปิดเป็นหลักสูตรสอนในระดับปริญญาโท (บัณฑิตวิทยาลัย) เริ่มครั้งแรกที่ ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เน้นการวางแผนและนโยบายในภาพกว้างบัณฑิตจากทุกสาขาสามารถเข้าเรียนได้ และ ต่อมา มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้เปิดสอนที่หลักสูตรปริญญาโท สำหรับผู้ที่จบปริญญาตรีสถาปัตยกรรมและการออกแบบกายภาพอื่นๆ ที่ ภาควิชาการออกแบบชุมชนเมือง และ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ใน สาขาวิชาการผังเมืองโดยได้รับปริญญาการผังเมืองมหาบัณฑิตโดยตรง ในปัจจุบันมีหลักสูตรการออกแบบชุมชนเมืองปัจจุบันได้ทำการเปิดสอนในระดับปริญญาตรีในหลายมหาวิทยาลัยอาทิ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่ ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ใน สาขาวิชาการผังเมืองโดยได้รับปริญญาการผังเมืองบัณฑิตโดยตรง และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์มหาวิทยาลัยมหาสารคามที่ สาขาวิชาสถาปัตยกรรมเมืองและชุมชนด้วย และในเร็ว ๆ นี้ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จะดำเนินการเปิดสอนในระดับปริญญาเอกสาขาวิชาการผังเมืองโดยตรงอีกด้วย


อ้างอิง

  • Urban Development: The Logic Of Making Plans, Lewis D. Hopkins, Island Press, 2001. ISBN 1-55963-853-2
  • Readings in Planning Theory, Susan Fainstein and Scott Campbell, Oxford, England and Malden, Massachusetts: Blackwell Publishers, 2003.
  • Urban Planning Theory since 1945, Nigel Taylor, London, Sage, 2007

การออกแบบชุมชนเมือง
(จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี)
การออกแบบชุมชนเมือง หรือ สถาปัตยกรรมผังเมือง เป็นศาสตร์แขนงหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสรรค์สภาพแวดล้อมของเมือง โดยผู้ประกอบวิชาชีพนี้ เรียกว่า "นักออกแบบชุมชนเมือง" หรือ "สถาปนิกผังเมือง" โดยมีหน้าที่สร้างสรรค์สภาพแวดล้อมทางกายภาพของชุมชนเมือง โดยเน้นคุณภาพ 3 ด้าน คือ คุณภาพทางด้านสุนทรียภาพ คุณภาพทางด้านชีวิตของสังคมเมือง และคุณภาพของสิ่งแวดล้อม


อ้างอิง
  • Hillier B. and Hanson J. "The Social Logic of Space". Cambridge University Press, 1984. ISBN 0-521-36784-0.
  • David Gosling, Barry Maitland, Concepts of urban design, University of Minnesota 1984, ISBN 0312161212.

การวางแผนภาค


การวางแผนภาค (regional planning) เป็นสาขาหนึ่งของการวางแผนที่ดินที่เกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพในการกำหนดการใช้ที่ดินและกิจกรรม โครงสร้างพื้นฐานและการเจริญเติมโตอันเนื่องมาจากการตั้งถิ่นฐานบนพื้นที่ที่มีขนาดใหญ่มากมากกว่านครหรือเมืองใดเมืองหนึ่งเพียงเมืองเดียว สาขาที่เกี่ยวเนื่องและสัมพันธ์กันได้แก่การการวางแผนชุมชน และการออกแบบชุมชนเมือง ซึ่งเป็นการเกี่ยวข้องกับปัญหาเฉพาะในพื้นที่ที่เป็นส่วนของเมือง และถือเป็นส่วนของการผังเมือง การวางแผนภาค การวางแผนชุมชนและการออกแบบชุมชนถือกันว่าเป็นการวางแผนเชิงพื้นที่ (Spatial planning) ที่ภายใต้กรอบที่พัฒนาแนวทางมาจากยุโรป


การวางแผนภาค

ในแต่ละ ภาค จะต้องมีการใช้ที่ดินที่หลากหลาย ต้องการการปกป้องพื้นที่เกษตรกรรม พื้นที่เมือง จะต้องมีพื้นที่เพื่อการอุตสาหกรรม เพื่อการจัดวางโครงข่ายและศูนย์การขนส่ง พื้นที่การทหาร พื้นที่ธรรมชาติและป่าสงวน ฯลฯ รวมทั้งพื้นที่เสี่ยงภัยธรรมชาติซึ่งมักมีปัญหาขัดแย้งระหว่างการใช้ที่ดินที่ต่างกัน
การวางแผนภาคเป็นศาสตร์ว่าด้วยการจัดวางหรือกำหนดพื้นที่ที่มีประสิทธิภาพ ด้วยการวางโครงสร้างพื้นฐานพร้อมการกำหนดเขตหรือย่าน (อังกฤษ: Zoning) เพื่อนำไปสู่การเจริญเติบโตที่ยั่งยืนของทั้งภาคซึ่งอาจครอบคลุมพื้นที่หลายจังหวัด
คำว่า "ภาค" ในความหมายของการวางแผนอาจกำหนดโดยเขตการปกครองที่มีลักษณะปัญหาการพัฒนาหรือปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นไปในแนวเดียวกัน เช่น พื้นที่ชายฝั่งภาคตะวันออกของประเทศไทยที่เรียก "อีสเทิร์นซีบอร์ด" ซึ่งรวมพื้นที่หลายจังหวัด หรืออาจเป็นพื้นที่ที่กำหนดโดยลุ่มน้ำธรรมชาติ เช่น พื้นที่ลุ่มน้ำวัง

หลักการของการวางแผนภาค

เนื่องจากพื้นที่ "ภาค" ครอบคลุมพื้นที่ของหลายองค์การปกครองท้องถิ่นซึ่งมีกฎหมายท้องถิ่นและระบบงบประมาณเป็นของตัวเอง การวางแผนภาคจึงเป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้การพัฒนาของพื้นที่ภาคโดยภาพรวมซึ่งมีผลกระทบถึงกันโดยตรงมุ่งสู่เป้าหมายเดียวกันอย่างมีประสิทธิภาพและชัดเจน ปกติการวางแผนภาคโดยทั่วไปจะมุ่งเน้นที่จะ:-
  • พิทักษ์ ปกป้องและต่อต้านการพัฒนาในพื้นที่น้ำท่วมและพื้นที่เสี่ยงภัยธรรมชาติ เช่น บนแนวรอยแยกแผ่นดินไหว พื้นที่เสี่ยงคลื่นสึนามิ
  • กำหนดระบบโครงข่ายการคมนาคมและการสัญจรที่เชื่อมโยงไปยังพื้นที่พัฒนาในส่วนต่างๆ ของประเทศ
  • กำหนดแนวคิดในการพัฒนาเน้นเฉพาะที่เหมาะสมกับศักยภาพของทรัพยากรในภาคนั้นๆ เช่น การเน้นเป็นพื้นที่เกษตรก้าวหน้าเนื่องจากความอุดมของดินและแหล่งน้ำ หรือพื้นที่ประกอบการอุตสาหกรรม เนื่องจากสะดวกในการขนส่งและท่าเรือ
  • กำหนดพื้นที่ที่จำเป็นต้องมี แต่ไม่มีผู้ใดต้องการ ได้แก่การประกอบอุตสาหกรรมที่มีของเสีย ฝุ่นหรือเสียง ที่อยู่ในภาวะ "NIMBY" (Not-In-My-Back-Yard) ให้มารวมอยู่กันเพื่อประสิทธิภาพในการจัดการ
  • กำหนดพื้นที่สีเขียวที่สอดคล้องกับลักษณะธรรมชาติและภูมิศาสตร์เพื่อเป็นแนวกั้นเขตการพัฒนา เพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและสัตว์ป่า นันทนาการและศิลปวัฒนธรรม
  • กำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติระดับภาคที่ทุกองค์กรบริหารส่วนท้องถิ่นในภาคนั้นๆ จะใช้ร่วมกันเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายเดียวกัน
  • กำหนดกฎหมายหรือข้องบังคับด้านการควบคุมการก่อสร้างในเชิงบวก เพื่อโน้มนำให้มีการพัฒนาที่เหมาะสมที่สุดกับพื้นที่นั้นๆ
อ้างอิง
  • onathan Barnett, Planning for a New Century: The Regional Agenda, ISBN 1-55963-806-0
  • Patricia E. Salkin, Supersizing Small Town America: Using Regionalism to Right-Size Big Box Retail, 6 Vermont Journal of Environmental Law 9 (2005)
  • Peter Calthorpe & William Fulton, The Regional City: Planning for the End of Sprawl, ISBN 1-55963-784-6

สถาปัตยกรรมผังเมือง

สถาปัตยกรรมผังเมือง


หน้า ๑๕ เล่ม ๑๒๓ ตอนที่ ๗๐ ก ราชกิจจานุเบกษา ๕ กรกฎาคม ๒๕๔๙ กฎกระทรวง กำหนดวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุมพ.ศ. ๒๕๔๙ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔ และมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติสถาปนิก พ.ศ.๒๕๔๓ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๙ และมาตรา ๕๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้ โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในกฎกระทรวงนี้
         “สาขาสถาปัตยกรรมผังเมือง” หมายความว่า วิชาชีพสถาปัตยกรรมที่ใช้ศาสตร์และศิลป์ในการ ออกแบบวางผังเพื่อสร้างสรรค์องค์ประกอบและสภาพแวดล้อมทางกายภาพของเมือง ชุมชนเมืองชุมชน และโครงการกลุ่มอาคารที่มีการใช้งานประเภทเดียวกันหรือหลายประเภท รวมถึงการวางผังเพื่อกำหนดกิจกรรม พื้นที่ ขนาด ความหนาแน่น ความสูง ที่โล่งหรือที่ว่างระหว่างอาคาร และโครงสร้างระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการภายในพื้นที่ดังกล่าว


ขอขอบคุณข้อมูลจาก






การผังเมือง
(จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี)

การผังเมือง หรือ การวางแผนชุมชนเมือง เป็นศาสตร์หนึ่ง เกี่ยวข้องกับสหสาขาวิชา เช่น การวางแผน กฎหมาย สถาปัตยกรรม สังคมศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ สิ่งแวดล้อม วิศวกรรมจราจร เพื่อเป็นการกำหนดนโยบาย กฎหมาย เกณฑ์ ระเบียบ การจัดวางผังและแผนการใช้พื้นที่ของเมือง ชุมชน โครงข่ายการจราจร
ผู้จัดทำผังเมือง เรียกว่า นักผังเมือง การวางผังเมืองมีหลายระดับ ตั้งแต่ ผังชุมชน ผังเมืองเฉพาะ ผังเมืองรวม ผังภาค จนถึงผังประเทศ โดยมีความละเอียดของการวางแผนที่ต่างกัน จากการออกแบบกายภาพ การใช้ที่ดิน(กำหนดโดยการใช้สี เช่น สีแดง หมายถึงย่านพานิชยกรรม สีเหลือง หมายถึงที่พักอาศัยหนาแน่นน้อย เป็นต้น) ความหนาแน่น โครงข่าย/ระบบจราจรและขนส่ง หรือพื้นที่สีเขียว/สวนสาธารณะ มักมีประกาศกฎเกณฑ์ประกอบแผนในรูปกฎหมายประกอบอยู่ด้วย
ในประเทศไทยหน่วยงานของรัฐฯที่เป็นองค์กรหลักในการจัดทำผังเมืองคือ กรมโยธาธิการและผังเมือง ส่วนกรุงเทพมหานครได้รับการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น กำหนดให้มีหน่วยงานที่ดูแลจัดทำผังเมืองของตนเอง คือ สำนักผังเมือง กรุงเทพมหานคร
ได้มีการกำหนดให้วันที่ 8 พฤศจิกายน ของทุกปี เป็น "วันผังเมืองโลก" (World Town Planning Day) โดยมีองค์กรหลักที่เกี่ยวข้องคือ The International Society of City and Regional Planners (IsoCaRP) ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ และ The America Institute of Certified Planners (AICP) เป็นศูนย์กลางด้านวิชาการวางผังเมืองนานาชาติ

ศาสตร์ของเรา

ศาสตร์ของเรา
เสน่ห์แห่งท้องถิ่น...

I'am

พลูโต...ที่รัก