PIYADA_AUD

ยินดีต้อนรับสู่บ้านของเรา สถาปัตยกรรมของเรา


สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเป็นสิ่งที่มีคุณค่าในตัวเอง

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเป็นของที่ไม่ละเมียดละไม...แต่งดงาม

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเป็นของที่ไม่ถาวร...แต่ยั่งยืน

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเป็นของที่ง่ายๆ...แต่ทรงภูมิปัญญา

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเป็นของธรรมดา...แต่มีอัตลักษณ์


และที่สำคัญสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเป็นสถาปัตยกรรมแห่งความจริง
ทุกอณูในเนื้องานสะท้อนความจริงของวัสดุ โครงสร้าง ภูมิปัญญาท้องถิ่น

สะท้อนความจริงของปัจจัยแวดล้อม
สะท้อนความจริงของวิถีการใช้สอย

จึงพูดได้ว่า เป็นสถาปัตยกรรมแห่งสัจจะ...ไร้มายา...จึงมีคุณค่าเหนือกาลเวลา


วันศุกร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2554

ผังเมืองในประเทศไทย

ผังเมืองในประเทศไทย


                        นักผังเมือง ในประเทศไทย ขึ้นอยู่กับ 2 สมาคมวิชาชีพ คือ สมาคมนักผังเมืองไทย(Thai City Planners Society-TCPS) และสมาคมสถาปนิกชุมชนเมืองไทย (Association of Thai Urban Designers - TUDA) ปัจจุบันสมาคมสถาปนิกชุมชนเมืองไทยเป็นส่วนหนึ่งของสาขาสถาปัตยกรรมผังเมือง ในสภาสถาปนิก วิชาชีพผังเมืองจึงเป็นวิชาชีพควบคุมตามพระราชบัญญัติสถาปนิก ดังจะเห็นได้จาก กฎกระทรวงว่าด้วยวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุมฯ ปี 2549[1])ที่ระบุว่างานสถาปัตยกรรมผังเมืองควบคุมได้แก่ พื้นที่ที่มีการบังคับใช้ผังเมืองรวม ผังเมืองเฉพาะ, งานจัดรูปที่ดิน, การจัดสรรที่ดิน, งานอนุรักษ์ศิลปกรรมและสิ่งแวดล้อม, งานในพื้นที่เขตเพลิงไหม้และเขตภัยพิบัติ, นิคมอุตสาหกรรม, กลุ่มอาคารขนาดใหญ่-ใหญ่พิเศษ อาคารสาธารณะ อาคารสูง อาคารพิเศษ พื้นที่รวมกัน 30,000 ตารางเมตรขึ้นไป
เดิมวิชาผังเมืองเปิดเป็นหลักสูตรสอนในระดับปริญญาโท (บัณฑิตวิทยาลัย) เริ่มครั้งแรกที่ ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เน้นการวางแผนและนโยบายในภาพกว้างบัณฑิตจากทุกสาขาสามารถเข้าเรียนได้ และ ต่อมา มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้เปิดสอนที่หลักสูตรปริญญาโท สำหรับผู้ที่จบปริญญาตรีสถาปัตยกรรมและการออกแบบกายภาพอื่นๆ ที่ ภาควิชาการออกแบบชุมชนเมือง และ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ใน สาขาวิชาการผังเมืองโดยได้รับปริญญาการผังเมืองมหาบัณฑิตโดยตรง ในปัจจุบันมีหลักสูตรการออกแบบชุมชนเมืองปัจจุบันได้ทำการเปิดสอนในระดับปริญญาตรีในหลายมหาวิทยาลัยอาทิ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่ ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ใน สาขาวิชาการผังเมืองโดยได้รับปริญญาการผังเมืองบัณฑิตโดยตรง และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์มหาวิทยาลัยมหาสารคามที่ สาขาวิชาสถาปัตยกรรมเมืองและชุมชนด้วย และในเร็ว ๆ นี้ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จะดำเนินการเปิดสอนในระดับปริญญาเอกสาขาวิชาการผังเมืองโดยตรงอีกด้วย


อ้างอิง

  • Urban Development: The Logic Of Making Plans, Lewis D. Hopkins, Island Press, 2001. ISBN 1-55963-853-2
  • Readings in Planning Theory, Susan Fainstein and Scott Campbell, Oxford, England and Malden, Massachusetts: Blackwell Publishers, 2003.
  • Urban Planning Theory since 1945, Nigel Taylor, London, Sage, 2007

การออกแบบชุมชนเมือง
(จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี)
การออกแบบชุมชนเมือง หรือ สถาปัตยกรรมผังเมือง เป็นศาสตร์แขนงหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสรรค์สภาพแวดล้อมของเมือง โดยผู้ประกอบวิชาชีพนี้ เรียกว่า "นักออกแบบชุมชนเมือง" หรือ "สถาปนิกผังเมือง" โดยมีหน้าที่สร้างสรรค์สภาพแวดล้อมทางกายภาพของชุมชนเมือง โดยเน้นคุณภาพ 3 ด้าน คือ คุณภาพทางด้านสุนทรียภาพ คุณภาพทางด้านชีวิตของสังคมเมือง และคุณภาพของสิ่งแวดล้อม


อ้างอิง
  • Hillier B. and Hanson J. "The Social Logic of Space". Cambridge University Press, 1984. ISBN 0-521-36784-0.
  • David Gosling, Barry Maitland, Concepts of urban design, University of Minnesota 1984, ISBN 0312161212.

การวางแผนภาค


การวางแผนภาค (regional planning) เป็นสาขาหนึ่งของการวางแผนที่ดินที่เกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพในการกำหนดการใช้ที่ดินและกิจกรรม โครงสร้างพื้นฐานและการเจริญเติมโตอันเนื่องมาจากการตั้งถิ่นฐานบนพื้นที่ที่มีขนาดใหญ่มากมากกว่านครหรือเมืองใดเมืองหนึ่งเพียงเมืองเดียว สาขาที่เกี่ยวเนื่องและสัมพันธ์กันได้แก่การการวางแผนชุมชน และการออกแบบชุมชนเมือง ซึ่งเป็นการเกี่ยวข้องกับปัญหาเฉพาะในพื้นที่ที่เป็นส่วนของเมือง และถือเป็นส่วนของการผังเมือง การวางแผนภาค การวางแผนชุมชนและการออกแบบชุมชนถือกันว่าเป็นการวางแผนเชิงพื้นที่ (Spatial planning) ที่ภายใต้กรอบที่พัฒนาแนวทางมาจากยุโรป


การวางแผนภาค

ในแต่ละ ภาค จะต้องมีการใช้ที่ดินที่หลากหลาย ต้องการการปกป้องพื้นที่เกษตรกรรม พื้นที่เมือง จะต้องมีพื้นที่เพื่อการอุตสาหกรรม เพื่อการจัดวางโครงข่ายและศูนย์การขนส่ง พื้นที่การทหาร พื้นที่ธรรมชาติและป่าสงวน ฯลฯ รวมทั้งพื้นที่เสี่ยงภัยธรรมชาติซึ่งมักมีปัญหาขัดแย้งระหว่างการใช้ที่ดินที่ต่างกัน
การวางแผนภาคเป็นศาสตร์ว่าด้วยการจัดวางหรือกำหนดพื้นที่ที่มีประสิทธิภาพ ด้วยการวางโครงสร้างพื้นฐานพร้อมการกำหนดเขตหรือย่าน (อังกฤษ: Zoning) เพื่อนำไปสู่การเจริญเติบโตที่ยั่งยืนของทั้งภาคซึ่งอาจครอบคลุมพื้นที่หลายจังหวัด
คำว่า "ภาค" ในความหมายของการวางแผนอาจกำหนดโดยเขตการปกครองที่มีลักษณะปัญหาการพัฒนาหรือปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นไปในแนวเดียวกัน เช่น พื้นที่ชายฝั่งภาคตะวันออกของประเทศไทยที่เรียก "อีสเทิร์นซีบอร์ด" ซึ่งรวมพื้นที่หลายจังหวัด หรืออาจเป็นพื้นที่ที่กำหนดโดยลุ่มน้ำธรรมชาติ เช่น พื้นที่ลุ่มน้ำวัง

หลักการของการวางแผนภาค

เนื่องจากพื้นที่ "ภาค" ครอบคลุมพื้นที่ของหลายองค์การปกครองท้องถิ่นซึ่งมีกฎหมายท้องถิ่นและระบบงบประมาณเป็นของตัวเอง การวางแผนภาคจึงเป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้การพัฒนาของพื้นที่ภาคโดยภาพรวมซึ่งมีผลกระทบถึงกันโดยตรงมุ่งสู่เป้าหมายเดียวกันอย่างมีประสิทธิภาพและชัดเจน ปกติการวางแผนภาคโดยทั่วไปจะมุ่งเน้นที่จะ:-
  • พิทักษ์ ปกป้องและต่อต้านการพัฒนาในพื้นที่น้ำท่วมและพื้นที่เสี่ยงภัยธรรมชาติ เช่น บนแนวรอยแยกแผ่นดินไหว พื้นที่เสี่ยงคลื่นสึนามิ
  • กำหนดระบบโครงข่ายการคมนาคมและการสัญจรที่เชื่อมโยงไปยังพื้นที่พัฒนาในส่วนต่างๆ ของประเทศ
  • กำหนดแนวคิดในการพัฒนาเน้นเฉพาะที่เหมาะสมกับศักยภาพของทรัพยากรในภาคนั้นๆ เช่น การเน้นเป็นพื้นที่เกษตรก้าวหน้าเนื่องจากความอุดมของดินและแหล่งน้ำ หรือพื้นที่ประกอบการอุตสาหกรรม เนื่องจากสะดวกในการขนส่งและท่าเรือ
  • กำหนดพื้นที่ที่จำเป็นต้องมี แต่ไม่มีผู้ใดต้องการ ได้แก่การประกอบอุตสาหกรรมที่มีของเสีย ฝุ่นหรือเสียง ที่อยู่ในภาวะ "NIMBY" (Not-In-My-Back-Yard) ให้มารวมอยู่กันเพื่อประสิทธิภาพในการจัดการ
  • กำหนดพื้นที่สีเขียวที่สอดคล้องกับลักษณะธรรมชาติและภูมิศาสตร์เพื่อเป็นแนวกั้นเขตการพัฒนา เพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและสัตว์ป่า นันทนาการและศิลปวัฒนธรรม
  • กำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติระดับภาคที่ทุกองค์กรบริหารส่วนท้องถิ่นในภาคนั้นๆ จะใช้ร่วมกันเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายเดียวกัน
  • กำหนดกฎหมายหรือข้องบังคับด้านการควบคุมการก่อสร้างในเชิงบวก เพื่อโน้มนำให้มีการพัฒนาที่เหมาะสมที่สุดกับพื้นที่นั้นๆ
อ้างอิง
  • onathan Barnett, Planning for a New Century: The Regional Agenda, ISBN 1-55963-806-0
  • Patricia E. Salkin, Supersizing Small Town America: Using Regionalism to Right-Size Big Box Retail, 6 Vermont Journal of Environmental Law 9 (2005)
  • Peter Calthorpe & William Fulton, The Regional City: Planning for the End of Sprawl, ISBN 1-55963-784-6

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ศาสตร์ของเรา

ศาสตร์ของเรา
เสน่ห์แห่งท้องถิ่น...

I'am

พลูโต...ที่รัก