PIYADA_AUD

ยินดีต้อนรับสู่บ้านของเรา สถาปัตยกรรมของเรา


สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเป็นสิ่งที่มีคุณค่าในตัวเอง

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเป็นของที่ไม่ละเมียดละไม...แต่งดงาม

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเป็นของที่ไม่ถาวร...แต่ยั่งยืน

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเป็นของที่ง่ายๆ...แต่ทรงภูมิปัญญา

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเป็นของธรรมดา...แต่มีอัตลักษณ์


และที่สำคัญสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเป็นสถาปัตยกรรมแห่งความจริง
ทุกอณูในเนื้องานสะท้อนความจริงของวัสดุ โครงสร้าง ภูมิปัญญาท้องถิ่น

สะท้อนความจริงของปัจจัยแวดล้อม
สะท้อนความจริงของวิถีการใช้สอย

จึงพูดได้ว่า เป็นสถาปัตยกรรมแห่งสัจจะ...ไร้มายา...จึงมีคุณค่าเหนือกาลเวลา


วันศุกร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2554

ผังเมืองในประเทศไทย

ผังเมืองในประเทศไทย


                        นักผังเมือง ในประเทศไทย ขึ้นอยู่กับ 2 สมาคมวิชาชีพ คือ สมาคมนักผังเมืองไทย(Thai City Planners Society-TCPS) และสมาคมสถาปนิกชุมชนเมืองไทย (Association of Thai Urban Designers - TUDA) ปัจจุบันสมาคมสถาปนิกชุมชนเมืองไทยเป็นส่วนหนึ่งของสาขาสถาปัตยกรรมผังเมือง ในสภาสถาปนิก วิชาชีพผังเมืองจึงเป็นวิชาชีพควบคุมตามพระราชบัญญัติสถาปนิก ดังจะเห็นได้จาก กฎกระทรวงว่าด้วยวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุมฯ ปี 2549[1])ที่ระบุว่างานสถาปัตยกรรมผังเมืองควบคุมได้แก่ พื้นที่ที่มีการบังคับใช้ผังเมืองรวม ผังเมืองเฉพาะ, งานจัดรูปที่ดิน, การจัดสรรที่ดิน, งานอนุรักษ์ศิลปกรรมและสิ่งแวดล้อม, งานในพื้นที่เขตเพลิงไหม้และเขตภัยพิบัติ, นิคมอุตสาหกรรม, กลุ่มอาคารขนาดใหญ่-ใหญ่พิเศษ อาคารสาธารณะ อาคารสูง อาคารพิเศษ พื้นที่รวมกัน 30,000 ตารางเมตรขึ้นไป
เดิมวิชาผังเมืองเปิดเป็นหลักสูตรสอนในระดับปริญญาโท (บัณฑิตวิทยาลัย) เริ่มครั้งแรกที่ ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เน้นการวางแผนและนโยบายในภาพกว้างบัณฑิตจากทุกสาขาสามารถเข้าเรียนได้ และ ต่อมา มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้เปิดสอนที่หลักสูตรปริญญาโท สำหรับผู้ที่จบปริญญาตรีสถาปัตยกรรมและการออกแบบกายภาพอื่นๆ ที่ ภาควิชาการออกแบบชุมชนเมือง และ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ใน สาขาวิชาการผังเมืองโดยได้รับปริญญาการผังเมืองมหาบัณฑิตโดยตรง ในปัจจุบันมีหลักสูตรการออกแบบชุมชนเมืองปัจจุบันได้ทำการเปิดสอนในระดับปริญญาตรีในหลายมหาวิทยาลัยอาทิ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่ ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ใน สาขาวิชาการผังเมืองโดยได้รับปริญญาการผังเมืองบัณฑิตโดยตรง และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์มหาวิทยาลัยมหาสารคามที่ สาขาวิชาสถาปัตยกรรมเมืองและชุมชนด้วย และในเร็ว ๆ นี้ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จะดำเนินการเปิดสอนในระดับปริญญาเอกสาขาวิชาการผังเมืองโดยตรงอีกด้วย


อ้างอิง

  • Urban Development: The Logic Of Making Plans, Lewis D. Hopkins, Island Press, 2001. ISBN 1-55963-853-2
  • Readings in Planning Theory, Susan Fainstein and Scott Campbell, Oxford, England and Malden, Massachusetts: Blackwell Publishers, 2003.
  • Urban Planning Theory since 1945, Nigel Taylor, London, Sage, 2007

การออกแบบชุมชนเมือง
(จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี)
การออกแบบชุมชนเมือง หรือ สถาปัตยกรรมผังเมือง เป็นศาสตร์แขนงหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสรรค์สภาพแวดล้อมของเมือง โดยผู้ประกอบวิชาชีพนี้ เรียกว่า "นักออกแบบชุมชนเมือง" หรือ "สถาปนิกผังเมือง" โดยมีหน้าที่สร้างสรรค์สภาพแวดล้อมทางกายภาพของชุมชนเมือง โดยเน้นคุณภาพ 3 ด้าน คือ คุณภาพทางด้านสุนทรียภาพ คุณภาพทางด้านชีวิตของสังคมเมือง และคุณภาพของสิ่งแวดล้อม


อ้างอิง
  • Hillier B. and Hanson J. "The Social Logic of Space". Cambridge University Press, 1984. ISBN 0-521-36784-0.
  • David Gosling, Barry Maitland, Concepts of urban design, University of Minnesota 1984, ISBN 0312161212.

การวางแผนภาค


การวางแผนภาค (regional planning) เป็นสาขาหนึ่งของการวางแผนที่ดินที่เกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพในการกำหนดการใช้ที่ดินและกิจกรรม โครงสร้างพื้นฐานและการเจริญเติมโตอันเนื่องมาจากการตั้งถิ่นฐานบนพื้นที่ที่มีขนาดใหญ่มากมากกว่านครหรือเมืองใดเมืองหนึ่งเพียงเมืองเดียว สาขาที่เกี่ยวเนื่องและสัมพันธ์กันได้แก่การการวางแผนชุมชน และการออกแบบชุมชนเมือง ซึ่งเป็นการเกี่ยวข้องกับปัญหาเฉพาะในพื้นที่ที่เป็นส่วนของเมือง และถือเป็นส่วนของการผังเมือง การวางแผนภาค การวางแผนชุมชนและการออกแบบชุมชนถือกันว่าเป็นการวางแผนเชิงพื้นที่ (Spatial planning) ที่ภายใต้กรอบที่พัฒนาแนวทางมาจากยุโรป


การวางแผนภาค

ในแต่ละ ภาค จะต้องมีการใช้ที่ดินที่หลากหลาย ต้องการการปกป้องพื้นที่เกษตรกรรม พื้นที่เมือง จะต้องมีพื้นที่เพื่อการอุตสาหกรรม เพื่อการจัดวางโครงข่ายและศูนย์การขนส่ง พื้นที่การทหาร พื้นที่ธรรมชาติและป่าสงวน ฯลฯ รวมทั้งพื้นที่เสี่ยงภัยธรรมชาติซึ่งมักมีปัญหาขัดแย้งระหว่างการใช้ที่ดินที่ต่างกัน
การวางแผนภาคเป็นศาสตร์ว่าด้วยการจัดวางหรือกำหนดพื้นที่ที่มีประสิทธิภาพ ด้วยการวางโครงสร้างพื้นฐานพร้อมการกำหนดเขตหรือย่าน (อังกฤษ: Zoning) เพื่อนำไปสู่การเจริญเติบโตที่ยั่งยืนของทั้งภาคซึ่งอาจครอบคลุมพื้นที่หลายจังหวัด
คำว่า "ภาค" ในความหมายของการวางแผนอาจกำหนดโดยเขตการปกครองที่มีลักษณะปัญหาการพัฒนาหรือปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นไปในแนวเดียวกัน เช่น พื้นที่ชายฝั่งภาคตะวันออกของประเทศไทยที่เรียก "อีสเทิร์นซีบอร์ด" ซึ่งรวมพื้นที่หลายจังหวัด หรืออาจเป็นพื้นที่ที่กำหนดโดยลุ่มน้ำธรรมชาติ เช่น พื้นที่ลุ่มน้ำวัง

หลักการของการวางแผนภาค

เนื่องจากพื้นที่ "ภาค" ครอบคลุมพื้นที่ของหลายองค์การปกครองท้องถิ่นซึ่งมีกฎหมายท้องถิ่นและระบบงบประมาณเป็นของตัวเอง การวางแผนภาคจึงเป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้การพัฒนาของพื้นที่ภาคโดยภาพรวมซึ่งมีผลกระทบถึงกันโดยตรงมุ่งสู่เป้าหมายเดียวกันอย่างมีประสิทธิภาพและชัดเจน ปกติการวางแผนภาคโดยทั่วไปจะมุ่งเน้นที่จะ:-
  • พิทักษ์ ปกป้องและต่อต้านการพัฒนาในพื้นที่น้ำท่วมและพื้นที่เสี่ยงภัยธรรมชาติ เช่น บนแนวรอยแยกแผ่นดินไหว พื้นที่เสี่ยงคลื่นสึนามิ
  • กำหนดระบบโครงข่ายการคมนาคมและการสัญจรที่เชื่อมโยงไปยังพื้นที่พัฒนาในส่วนต่างๆ ของประเทศ
  • กำหนดแนวคิดในการพัฒนาเน้นเฉพาะที่เหมาะสมกับศักยภาพของทรัพยากรในภาคนั้นๆ เช่น การเน้นเป็นพื้นที่เกษตรก้าวหน้าเนื่องจากความอุดมของดินและแหล่งน้ำ หรือพื้นที่ประกอบการอุตสาหกรรม เนื่องจากสะดวกในการขนส่งและท่าเรือ
  • กำหนดพื้นที่ที่จำเป็นต้องมี แต่ไม่มีผู้ใดต้องการ ได้แก่การประกอบอุตสาหกรรมที่มีของเสีย ฝุ่นหรือเสียง ที่อยู่ในภาวะ "NIMBY" (Not-In-My-Back-Yard) ให้มารวมอยู่กันเพื่อประสิทธิภาพในการจัดการ
  • กำหนดพื้นที่สีเขียวที่สอดคล้องกับลักษณะธรรมชาติและภูมิศาสตร์เพื่อเป็นแนวกั้นเขตการพัฒนา เพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและสัตว์ป่า นันทนาการและศิลปวัฒนธรรม
  • กำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติระดับภาคที่ทุกองค์กรบริหารส่วนท้องถิ่นในภาคนั้นๆ จะใช้ร่วมกันเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายเดียวกัน
  • กำหนดกฎหมายหรือข้องบังคับด้านการควบคุมการก่อสร้างในเชิงบวก เพื่อโน้มนำให้มีการพัฒนาที่เหมาะสมที่สุดกับพื้นที่นั้นๆ
อ้างอิง
  • onathan Barnett, Planning for a New Century: The Regional Agenda, ISBN 1-55963-806-0
  • Patricia E. Salkin, Supersizing Small Town America: Using Regionalism to Right-Size Big Box Retail, 6 Vermont Journal of Environmental Law 9 (2005)
  • Peter Calthorpe & William Fulton, The Regional City: Planning for the End of Sprawl, ISBN 1-55963-784-6

สถาปัตยกรรมผังเมือง

สถาปัตยกรรมผังเมือง


หน้า ๑๕ เล่ม ๑๒๓ ตอนที่ ๗๐ ก ราชกิจจานุเบกษา ๕ กรกฎาคม ๒๕๔๙ กฎกระทรวง กำหนดวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุมพ.ศ. ๒๕๔๙ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔ และมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติสถาปนิก พ.ศ.๒๕๔๓ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๙ และมาตรา ๕๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้ โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในกฎกระทรวงนี้
         “สาขาสถาปัตยกรรมผังเมือง” หมายความว่า วิชาชีพสถาปัตยกรรมที่ใช้ศาสตร์และศิลป์ในการ ออกแบบวางผังเพื่อสร้างสรรค์องค์ประกอบและสภาพแวดล้อมทางกายภาพของเมือง ชุมชนเมืองชุมชน และโครงการกลุ่มอาคารที่มีการใช้งานประเภทเดียวกันหรือหลายประเภท รวมถึงการวางผังเพื่อกำหนดกิจกรรม พื้นที่ ขนาด ความหนาแน่น ความสูง ที่โล่งหรือที่ว่างระหว่างอาคาร และโครงสร้างระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการภายในพื้นที่ดังกล่าว


ขอขอบคุณข้อมูลจาก






การผังเมือง
(จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี)

การผังเมือง หรือ การวางแผนชุมชนเมือง เป็นศาสตร์หนึ่ง เกี่ยวข้องกับสหสาขาวิชา เช่น การวางแผน กฎหมาย สถาปัตยกรรม สังคมศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ สิ่งแวดล้อม วิศวกรรมจราจร เพื่อเป็นการกำหนดนโยบาย กฎหมาย เกณฑ์ ระเบียบ การจัดวางผังและแผนการใช้พื้นที่ของเมือง ชุมชน โครงข่ายการจราจร
ผู้จัดทำผังเมือง เรียกว่า นักผังเมือง การวางผังเมืองมีหลายระดับ ตั้งแต่ ผังชุมชน ผังเมืองเฉพาะ ผังเมืองรวม ผังภาค จนถึงผังประเทศ โดยมีความละเอียดของการวางแผนที่ต่างกัน จากการออกแบบกายภาพ การใช้ที่ดิน(กำหนดโดยการใช้สี เช่น สีแดง หมายถึงย่านพานิชยกรรม สีเหลือง หมายถึงที่พักอาศัยหนาแน่นน้อย เป็นต้น) ความหนาแน่น โครงข่าย/ระบบจราจรและขนส่ง หรือพื้นที่สีเขียว/สวนสาธารณะ มักมีประกาศกฎเกณฑ์ประกอบแผนในรูปกฎหมายประกอบอยู่ด้วย
ในประเทศไทยหน่วยงานของรัฐฯที่เป็นองค์กรหลักในการจัดทำผังเมืองคือ กรมโยธาธิการและผังเมือง ส่วนกรุงเทพมหานครได้รับการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น กำหนดให้มีหน่วยงานที่ดูแลจัดทำผังเมืองของตนเอง คือ สำนักผังเมือง กรุงเทพมหานคร
ได้มีการกำหนดให้วันที่ 8 พฤศจิกายน ของทุกปี เป็น "วันผังเมืองโลก" (World Town Planning Day) โดยมีองค์กรหลักที่เกี่ยวข้องคือ The International Society of City and Regional Planners (IsoCaRP) ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ และ The America Institute of Certified Planners (AICP) เป็นศูนย์กลางด้านวิชาการวางผังเมืองนานาชาติ

วันพฤหัสบดีที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2554

ขั้นตอนการฝึกเขียนลายไทย

1 การเขียนแม่ลายกระจัง
ภาพ:Tha7.gif
        แม่ลายกระจัง เป็นแม่ลายพื้นฐานอย่างหนึ่งในการเขียนลายไทย มีรูปทรงมาจากดอกบัวและตาไม้ ตัวอย่างแม่ลายในบทเรียนนี้ เรียกว่า กระจังตาอ้อย ถ้าเราเป็นคนช่างสังเกต จะเห็นว่า ตามข้อของต้นอ้อยหรือปล้องไผ่ จะมีตาไม้อยู่ ซึ่งมีรูปร่างเช่นเดียวกับลายในบทเรียนนี้ ซึ่งนับได้ว่า เป็นความช่างสังเกตของช่างไทย ในการประยุกต์รูปแบบธรรมชาติ มาประดิษฐ์เป็นลวดลายที่งดงามได้ ในบทเรียนนี้จะทำการฝึกเขียนลาย โดยมีตัวลายซ้อนกันอยู่ 2 ชั้น ซึ่งลายที่อยู่ภายในนั้น เรียกว่า ไส้ลาย (เส้นจะบางกว่า) การเขียนลายไทยนั้น ความสำเร็จขึ้นอยู่กับการฝึกฝน และเป็นคนช่างสังเกต ถ้ามีการฝึกเขียนมากเท่าไหร่ ความชำนาญจะเพิ่มมากขึ้น หากหมั่นสังเกต ก็จะสามารถเปรียบเทียบได้ว่า รูปทรงจากการฝึกหัด มีความสมบูรณ์สวยงาม เทียบกับต้นแบบได้หรือไม่


ขั้นตอนการเขียนแม่ลายกระจังตาอ้อย
        1.) เริ่มด้วยการเขียน โครงรูปสามเหลี่ยม โดยมีความสูงจากฐาน
        1.5) นิ้ว กว้าง ๒ นิ้ว และลากเส้นแบ่งกึ่งกลาง ข้างละ ๑ นิ้ว
        2.) เมื่อได้รูปสามเหลี่ยมสมบูรณ์แล้ว จึงเริ่มวาด เส้นรูป แม่ลายกระจัง โดยเริ่มวาดจากยอดลาย โค้งลงมา ตามรูปทรงของลายกระจังตาอ้อย ทั้ง ๒ ด้านตามตัวอย่าง
        3.)จากนั้นจึงวาด ลายสอดไส้ ไว้ภายในตัวกระจัง การเขียนลายสอดไส้นี้ ใช้วิธีการเขียนเช่นเดียวกับการเขียนเส้นรูป แต่มีขนาดเล็กกว่า เสร็จสิ้นขั้นตอนการเขียนแม่ลายกระจัง


2.การบากลาย
ภาพ:Tha8.jpg
        เมื่อคุณสามารถฝึกหัดเขียนลายกระจังตาอ้อยได้จนชำนาญแล้ว บทเรียนต่อมาก็คือการบากลาย การบากลายเป็นการเน้นตัวลายไม่ให้เรียบจนเกินไป และยังเพิ่มความสวยงามของรูปทรง ให้มีลักษณะเหมือนธรรมชาติอีกด้วย การบากลายมี 2 แบบคือ แบบที่ 1. การบากลายเข้า และแบบที่ 2.การบากลายออก โดยการใช้การบากลายแต่ละแบบ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของตัวลาย ที่จะนำไปใช้ประกอบในพื้นที่ต่างๆ


วิธีการ บากลายเข้า
        1.) เริ่มต้นการวาด ด้วยการลากเส้นจากยอดลาย จนมาถึงกึ่งกลางของตัวลาย และทำการบากลายเข้าภายในตัวลาย พร้อมกับตวัดเส้นออก ให้เป็นเส้นโค้งพองามทั้งสองด้าน ตามตัวอย่าง
        2.) เริ่มต้นเช่นเดียวกับการบากลายเข้า แต่เมื่อลากเส้น จนถึงกึ่งกลางตัวลาย ให้ตวัดเส้นออก สังเกตดู จะมีลักษณะเป็นยอดแหลม เหมือนกลีบดอกไม้ ตามตัวอย่าง
        3.) การเขียนแม่ลายประจำยาม


3.แม่ลายประจำยาม
ภาพ:Tha9.gif
        แม่ลายประจำยาม เป็นแม่ลายสำคัญอีกแม่ลายหนึ่ง ของการเขียนภาพไทย โดยรูปทรงทั่วไปจะเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ตรงกลางเป็นรูปวงกลม มีสี่กลีบคล้ายกับดอกไม้ และกลีบทั้งสี่ก็มาจากรูปทรงของ แม่ลายกระจังตาอ้อยนั่นเอง ซึ่งแม่ลายประจำยามนี้ สามารถแตกแขนง ออกไปได้อีกมากมาย โดยการใส่ไส้ซ้อนเข้าไป จนดูหรูหรามากขึ้น และรูปทรงยังสามารถ เปลี่ยนจากสี่เหลี่ยมจัตุรัส เป็นสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนได้อีกด้วย ซึ่งทำให้เกิดความงาม ที่แตกต่างไปอีกแบบหนึ่ง


วิธีการเขียนแม่ลายประจำยาม
        1.) เริ่มจากการเขียนรูป สี่เหลี่ยมจัตุรัสกว้าง 3 นิ้ว แบ่งกึ่งกลางข้างละ 1.5 นิ้ว และส่วนที่เป็นทรงกลม ตรงกลาง 1 นิ้ว ตามภาพตัวอย่าง
        2.) เมื่อได้รูปโครงร่างตามแบบแล้ว ขั้นต่อมาให้เขียนรูปวงกลมก่อน โดยกางวงเวียนออก รัศมีครึ่งนิ้ว วาดทั้งทรงกลมด้านในและด้านนอก โดยให้ทรงกลมด้านใน ที่เป็นไส้ลาย มีน้ำหนักเส้นเบากว่า ทรงกลมที่เป็นเส้นรูปด้านนอก
        3.) วาดกลีบดอกทั้ง ๔ กลีบ กรรมวิธีเช่นเดียวกับ การเขียนลายกระจังตาอ้อย (ในบทเรียนที่ 2.) โดยคุณจะเลือกเขียนให้กลีบ มีรูปแบบเป็น การบากลายเข้า หรือบากลายออกก็ได้
        4.) เมื่อวาดได้รูปทรงทั้งหมดแล้ว ขั้นสุดท้ายคือการใส่กลีบรองดอก ที่มุมเว้าทั้ง 4 เป็นอันเสร็จสมบูรณ์


4.การเขียนแม่ลายพุ่มข้าวบิณฑ์
ภาพ:Tha10.gif
        บทเรียนนี้จะกล่าวถึง การเขียนแม่ลายพุ่มข้าวบิณฑ์ โดยพุ่มข้าวบิณฑ์นี้ เป็นรูปทรงที่บ่งบอกถึง วัฒนธรรมของชาวไทยโดยเฉพาะ คนไทยแต่โบราณ เมื่อจะถวายข้าวให้แก่พระสงฆ์ ก็จะนำข้าวนั้นวางบนพาน และโกยยอดให้แหลม ดังเช่นทุกวันนี้เราจะพบเห็นรูปทรงเหล่านี้ ได้ตามพานพุ่มต่างๆ ที่เราจะถวายหรือมอบให้ แก่บุคคลที่เราเคารพนับถือ ส่วนใหญ่จะประดับด้วยดอกไม้ เช่น ดอกบานไม่รู้โรยเป็นต้น แม่ลายพุ่มข้าวบิณฑ์นี้ก็เป็นหนึ่ง ในแม่ลายที่สำคัญ อีกแม่ลายหนึ่งของไทย เนื่องจากสามารถแตกแขนง ออกไปได้อีกมากมาย ตัวอย่างเช่น แม่ลายหางสิงห์โต ซึ่งรูปทรงส่วนหนึ่ง ก็มาจากแม่ลายพุ่มข้าวบิณฑ์นี้


ขั้นตอนการเขียนแม่ลายพุ่มข้าวบิณฑ์
        1.) วาดโครงรูปสี่เหลี่ยมรูปว่าว ซึ่งเป็นโครงรูปของลายพุ่มข้าวบิณฑ์ กว้าง 2 นิ้ว สูง 3 นิ้ว การแบ่งรายละเอียดต่างๆ ดูได้จากภาพตัวอย่าง
        2.) เมื่อได้โครงแล้ว ก็เริ่มวาดรูปทรงหยดน้ำ ซึ่งเป็นไส้ในของลายพุ่มข้าวบิณฑ์ มีสองชั้น โดยวาดให้ไส้ลาย มีน้ำหนักเส้นอ่อนกว่า เส้นรูปหยดน้ำด้านนอก
        3.) เริ่มวาดเส้นโครงด้านนอกเบาๆ สำหรับเป็นเส้นนำ ในการเขียนกลีบลายด้านในต่อไป
        4.) ขั้นต่อไปเขียนกลีบด้านนอก ทั้งกลีบซ้ายและกลีบขวา โดยกลีบลาย จะเกาะกับรูปหยดน้ำ วีธีการเขียนเช่นเดียวกับการเขียนลายกระจังตาอ้อย แต่จะเขียนเพียงครึ่งเดียว
        5.) เขียนกลีบด้านบน ให้สังเกตว่า กลีบด้านบนจะมีลักษณะ ยื่นยาวกว่า ตามรูปทรงของตัวลาย
        6.) เขียนกลีบด้านล่าง โดยกลีบล่างจะมีลักษณะ กลมป้อมกว่า
        7.) เมื่อได้กลีบครบทั้งหมดแล้ว จึงสอดไส้ลาย ทั้งหมด 4 จุด
        8.) เขียนกลีบรองดอก ที่มุมเว้าด้านล่าง ให้ยื่นเป็นคู่ ออกมาเล็กน้อยพองาม เสร็จได้รูปทรง พุ่มข้าวบิณฑ์ที่สมบูรณ์
5.การเขียนแม่ลายกระหนก (ตัวเดียว)
ภาพ:Tha11.gif
        แม่ลายกระหนก นับเป็นแม่ลายที่สำคัญที่สุด ในการเขียนลายไทย เพราะถ้าคุณไม่สามารถ ฝึกเขียนลายกระหนก จนชำนาญแล้ว ก็จะไม่สามารถเขียนลายไทย ในขั้นต่อๆ ไปได้ ในบทเรียนนี้จะเป็นการฝึก การวาดกระหนกตัวเดียว และจะให้วาดสลับทั้งด้านซ้าย และด้านขวา โดยรูปทรงของตัวกระหนกนี้ มาจากรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก โดยส่วนหัวของกระหนกจะยื่น เลยจากรูปทรงสามเหลี่ยม ออกมาเล็กน้อย เพื่อให้ตัวกระหนก มีความพริ้วไหวมากขึ้น แต่ถ้าจะเขียนให้อยู่ภายใน รูปทรงสามเหลี่ยมก็ย่อมได้ แต่ตัวกระหนกที่ได้จะดูแข็งกว่า ความอ่อนช้อยจะลดลง




ขั้นตอนการเขียนแม่ลายกระหนก (ตัวเดียว)
        1.) เริ่มจากการวาดรูป สามเหลี่ยมมุมฉากขึ้นก่อน ส่วนสูง3 นิ้ว กว้าง 2 นิ้ว และที่มุมซ้ายวาด สามเหลี่ยมด้านเท่า เล็กๆ กว้างจากฐาน 2ซ.ม. สำหรับให้ตัวกระหนกเกาะ
        2.) เริ่มลากเส้นโค้ง จากฐาน (ตามภาพตัวอย่าง) พอถึงส่วนหัวกระหนก ให้วาดเส้นขด เหมือนกับก้นหอย แล้วลากเส้นต่อ จนถึงยอดลาย และตวัดลง ให้โค้งแหลม จนสุดโคนก้านตัวกระหนก ตามภาพตัวอย่าง
        3.) สำเร็จเป็นตัวกระหนก ส่วนเส้นเล็กๆ สีเทาที่อยู่ระหว่างกลาง ทั้งสองด้าน ของตัวกระหนกนั้น คุณจะวาดหรือไม่ก็ได้ ผมเพียงแต่เขียนนำไว้ให้ เพราะในบทเรียนต่อไปเส้นนำนี้ จะมีความสำคัญมาก ในการแบ่งตัวกระหนก เพื่อบากลาย หรือวาดขด สะบัดยอดลาย เป็นลายกระหนกหางไหล
        4.) เมื่อคุณสามารถวาดกระหนก ด้านขวาสำเร็จแล้ว ต่อไปคุณก็ควรหัดวาด ตัวกระหนกที่พลิกกลับด้านซ้ายด้วย เพราะในการใช้งานจริงๆ นั้น จำเป็นต้องเขียนได้ ทั้งด้านซ้าย และด้านขวา วิธีการวาดก็เช่นเดียวกับ การวาดตัวกระหนกด้านขวา
6.การสอดไส้และบากลายกระหนก
ภาพ:Tha12.gif
        เมื่อคุณสามารถฝึกวาด กระหนกตัวเดียวแบบเปลือยๆ จากบทเรียนที่ ๕ ได้จนชำนาญแล้ว บทเรียนนี้จะให้คุณ ได้สอดไส้ตัวกระหนก และบากลายในลักษณะต่างๆ ซึ่งมีความแตกต่างกัน (โดยใช้ทั้งการบากลายเข้า และบากลายออก ในกระหนกตัวเดียวกัน) และใส่กาบใบ ให้กับตัวกระหนกด้วย ลักษณะกระหนกเช่นนี้ บางคราวก็เรียกกันว่า กระหนกใบเทศ เพราะมีรูปร่างเหมือนกับใบเทศ หรือใบของต้นพุดตาน (hibiscus) ซึ่งเป็นไม้ตระกูลชบา ดอกใหญ่ มีกลีบดอกซ้อนสวยงามมาก


ขั้นตอนการสอดไส้และบากลายกระหนก
        1.) การเขียนโครงสามเหลี่ยมมุมฉาก ใช้ขนาดเดียวกับบทเรียนที่ ๕
        2.) เริ่มจากการวาดกาบใบเสียก่อน (คือส่วนที่เป็นสามเหลี่ยมด้านเท่า ในบทเรียนที่ ๕) โดยเขียนให้โคัง และตวัดยอดเหมือนกับยอดโค้งของใบไม้อ่อน และบากลายที่กึ่งกลางกาบ ดังภาพตัวอย่าง
        3.) สังเกตดูช่วงของการบากลายเข้า และออกได้จากภาพตัวอย่างนะครับ เริ่มลากเส้นจากโคน ตัวกระหนกและลากยาว จนถึงยอดลาย และตวัดกลับ แต่ระหว่างทางที่ลากเส้นนั้น จะมีการบากลายอยู่ตลอด สังเกตดูได้จากภาพตัวอย่าง
        4.) เมื่อได้ตัวกระหนกที่สมบูรณ์แล้ว ขั้นต่อมาก็คือการสอดไส้ลาย ให้วาดลายสอดไส้ ทั้งตัวกระหนก และกาบใบ ลักษณะเส้นจะอ่อนเบากว่า เส้นรูปของตัวกระหนกที่เข้มกว่า
        5.) เสร็จสมบูรณ์
        6.) การวาดตัวกระหนกพลิกกลับ ด้านซ้ายมือนี้ มีวิธีการเช่นเดียวกับ การวาดด้านขวามือ




7.การเขียนหางไหล
ภาพ:Tha13.gif
        ลายหางไหล ส่วนใหญ่แล้วจะใช้ประกอบ เป็นยอดของตัวกระหนก โดยช่างไทยได้แรงบันดาลใจ มาจากหางของสัตว์จำพวกงู และเปลวเพลิง ลักษณะรูปร่างของหางไหล โคนหางจะอ้วน ส่วนปลายจะเรียวแหลม และจะสะบัดเลื้อยไปมา การฝึกเขียนหางไหลนั้น ค่อนข้างทำได้ยาก โดยผู้เรียนส่วนใหญ่ จะเขียนแล้วไม่สมดุลย์กัน ทำให้หางไหลนั้น ดูแล้วสะบัดไม่เป็นธรรมชาติ วิธีแก้ไข คือต้องหัดสังเกตจากบทเรียน หรือจากธรรมชาติใกล้ตัว และทดลองฝึกเขียนให้มาก ก็จะทำให้มีพัฒนาการที่ดีขึ้น




ขั้นตอนการเขียนหางไหล
        1.) ให้วาดสามเหลี่ยมมุมฉาก ที่มีขนาดเดียวกับบทเรียนที่ ๕ และ ๖ ผิดกันแต่ ไม่ต้องวาดสามเหลี่ยมด้านเท่าเล็กๆ แต่ให้แบ่งกึ่งกลางขนาด ๑ นิ้วแทน เพื่อลากเส้นประนำ แบ่งกึ่งกลางของรูปสามเหลี่ยม
        2.)วาดเส้นโค้งจากโคนลาย เลื้อยมาเรื่อยๆ จนถึงยอดลาย และลากให้เลื้อยกลับ ให้สังเกตการโค้งของเส้น จะไปเล็กที่สุดคือส่วนยอดลาย เหมือนหางงู
        3.) ลากเส้นกึ่งกลางหนึ่งเส้น ให้คดโค้งไปตามรูปจนถึงยอดลาย


8. การเขียนกระหนกเปลว
ภาพ:Tha14.gif
        เมื่อเรานำหางไหลมาประกอบกับกระหนก เราจะเรียกกระหนกนั้นว่า "กระหนกเปลว" เนื่องจากมีรูปทรงเหมือนเปลวไฟ ที่สะบัดเลื้อย พริ้วไหวไปมา โดยรูปทรงของกระหนกเปลวนี้ มีโครงของตัวหางไหลอยู่ แต่ถ้าหากคุณวาด โดยไม่มีโครงของหางไหล กระหนกที่ได้จะแข็ง ไม่สะบัดพริ้วเท่าที่ควร ช่างไทยที่ฝีมือดี ล้วนผ่านการวาดกระหนกชนิดนี้มาอย่างหนักทั้งสิ้น หัวใจของศิลปะไทยคือ ความอดทน ช่างสังเกตและขยันหมั่นฝึกฝนนั่นเอง


ขั้นตอนการเขียนกระหนกเปลว
        1.) ให้วาดสามเหลี่ยมมุมฉาก ที่มีขนาดและการแบ่งพื้นที่ เช่นเดียวกับบทเรียนที่ ๕ และ ๖
        2.) วาดเส้นโค้งในส่วนของกาบใบ (กาบเล็กๆ ที่เป็นส่วนของการงอกออก ของตัวลายกระหนกเปลว) ในพื้นที่สามเหลี่ยมเล็กๆ มุมซ้ายมือ
        3.) วาดเส้นโค้งจากโคนลาย ลากตวัดเป็นส่วนหัวของตัวกระหนก และลากเส้นลายมาเรื่อยๆ สะบัดเส้นให้เลื้อยเป็นเปลว จนถึงยอดลาย และลากให้เลื้อยกลับ โดยพยายามสังเกตทิศทางของเส้น ให้วาดเลื้อยไป เหมือนกับหางของงู และจบลงด้วยการตวัดเส้นโค้งกลับ มาที่กาบใบ
        4.) ลากเส้นกึ่งกลางหนึ่งเส้น ให้คดโค้งไปตามรูปจนถึงยอดลาย


9.การสอดไส้และบากลายกระหนกเปลว
ภาพ:Tha15.gif
        เมื่อคุณสามารถฝึกวาดกระหนกเปลว จนชำนาญดีแล้ว ต่อไปคือการสอดไส้และบากลาย ให้กับตัวกระหนกเปลว ซึ่งกระหนกเปลวส่วนใหญ่ จะใช้ลายบากตัวละประมาณ ๖-๗ ตำแหน่ง (โดยสามารถเพิ่มหรือลด ตำแหน่งของรอยบากได้อีก ตามความเหมาะสม หรือตามขนาด ของตัวกระหนก) เมื่อมีการบากลายแล้ว ตัวกระหนกจะดูสวยงามมากขึ้น และเพิ่มพลังความพริ้วไหว ดุจเปลวเพลิง สมดังชื่อที่ตั้งอย่างแท้จริง


ขั้นตอนการสอดไส้และบากลายหระหนกเปลว
        1. ให้วาดสามเหลี่ยมมุมฉาก ที่มีขนาดและการแบ่งพื้นที่ เช่นเดียวกับบทเรียนที่ ๕ และ ๖
        2. วาดเส้นโค้งในส่วนของกาบใบ (กาบเล็กๆ ที่เป็นส่วนของการงอกออก ของตัวลายกระหนกเปลว) ในพื้นที่สามเหลี่ยมเล็กๆ มุมซ้ายมือ พร้อมกับบากลายเข้าตามรูป
        3. วาดเส้นโค้งจากโคนลาย ลากตวัดเป็นส่วนหัวของตัวกระหนก และลากเส้นลายมาเรื่อยๆ (ถ้าคุณยังไม่ชำนาญ ควรร่างโครงของกระหนกเปลว ด้วยเส้นเบาๆ ก่อน) แล้วจึงสะบัดเส้นขึ้น และบากลายเข้าและออก ตามจังหวะของตัวลาย บากไปเรื่อยๆให้เลื้อยเป็นเปลว จนถึงยอดลาย และลากเส้นให้เลื้อยกลับ พร้อมกับบากลายตามภาพ โดยพยายามสังเกตทิศทางของเส้น ระหว่างการบากลาย ให้อยู่ในทรงของกระหนกเปลว ที่สะบัดยอดเป็นหางไหลด้วย
        4. สำเร็จเป็นรูปทรง กระหนกเปลว ที่สอดไส้และบากลาย เรียบร้อยแล้ว จึงสอดไส้ลายที่ตัวกระหนก และกาบใบ ด้วยเส้นที่อ่อนกว่าดังภาพ
        5. วาดกระหนกเปลว สอดใส้และบากลาย ที่พลิกกลับ ทางด้านซ้าย เช่นเดียวกับบทเรียนที่ผ่านมา วิธีการวาด ใช้เช่นเดียวกับการวาดด้านขวา


ขอขอบคุณข้อมูลจาก
-ศูนย์ศิลปาชีพ บางไทร
-มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
-http://www.jitdrathanee.com/thai/stu_01.htm
-http://www.jitdrathanee.com/thai/studio.htm

ปฐมกำเนิดลายไทย

ปฐมกำเนิดลายไทย
อันเแบบแผนลายไทยเท่าที่ปรากฏ ให้เห็นอยู่ทุกวันนี้ ถือได้ว่าเป็นแบบแผนตายตัว เนื่องด้วยลายไทยได้วิวัฒนาการตัวเอง ตั้งแต่สมัยสุโขทัย อยุธยา และรัตนโกสินทร์ จนสู่จุดสมบูรณ์ กลายเป็นเอกลักษณ์ของชาติไทยจนถึงทุกวันนี้
        ที่จริงในสมัยก่อนกรุงศรีอยุธยา ลายไทยมิได้มีรูปร่างหน้าตาอย่างที่เราเห็นกันทุกวันนี้ จากการค้นคว้าลายรุ่นเก่า บนลายปูนปั้นและลายจำหลักศิลา บนใบเสมารุ่นอู่ทอง และสุโขทัย ซึ่งพบทั่วไปในดินแดนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ในท้องที่ของนครเก่าแก่ ตั้งแต่สมัยสุโขทัยเรื่อยมา ลงไปสุดใต้ที่นครศรีธรรมราช ลายอันปรากฏนั้น มิได้เป็นลายที่สืบต่อมาจากขอม หรือ ทวารวดี หากแต่เป็นลายที่ เกิดขึ้นจากการ "สลัดแอกอิทธิพลอินเดีย" เข้าสู่ความเป็นตนเอง โดยจะมีลักษณะเหมือนธรรมชาติ คือเป็นลายเครือเถา ลายก้านขด ประกอบด้วยรูปดอกไม้ ใบไม้ รูปนก สัตว์จตุบาท (สัตว์ ๔ เท้า) ทวิบาท (สัตว์ ๒ เท้า) ต่างๆ ซึ่งลายลักษณะนี้ เป็นลายคนละตระกูล กับลายอันมีอิทธิพลจากอินเดีย
        ลายไทยนั้นได้มีวิวัฒนาการ และพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง โดยนับเริ่มต้นได้ตั้งแต่ ในสมัยอู่ทอง อโยธยา สุโขทัย ลายไทยในสมัยอยุธยาตอนต้น ตอนกลาง ลายไทยอันสง่างาม เลื่อนไหลเเป็นเปลวไฟ ในสมัยอุธยายาตอนปลาย จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ และศิลปะของเมืองหลวงปัจจุบัน


ลายไทยในสมัยโบราณ แบ่งออกเป็น 4หมวด ได้แก่


  1. หมวดกระหนก หมายถึง การเขียนลวดลายไทยต่างๆ เช่น กระหนกสามตัว กระหนกใบเทศ กระจังตาอ้อย ประจำยาง เป็นต้น
        2. หมวดนารี หมายถึง การเขียนภาพคน เช่น ภาพพระ ภาพนาง ภาพเทวดา เป็นต้น ซึ่งต้องฝึกเขียนรูปร่าง ใบหน้า และกิริยาท่าทางต่างๆของคน รวมถึงภาพจับ
        3.หมวดกระบี่ หมายถึง การเขียนภาพลิง ภาพยักษ์ อสูร และพวกอมนุษย์ต่างๆโดยมากจะยึดเอายักษ์ และลิงที่เป็นตัวเอกในเรื่องรามเกียรติ์เป็นหลัก
        4.หมวดคชะ หมายถึง การเขียนภาพสัตว์ต่างๆ ได้แก่ สัตว์ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ เช่น ช้าง ม้า วัว ควาย เสือ สิงห์ กระทิง แรด เป็นต้น และสัตว์ในวรรณคดีที่เกิดจากจินตนาการของช่างเขียนหรือเราเรียกว่า สัตว์หิมพานต์ มีรูปร่างประหลาด เช่น ราชสีห์ คชสีห์ กินรี ครุฑ หงส์ เป็นต้น
        การเขียนลายไทยนั้นต้องฝึกการเคลื่อนไหวของมือ การฝึกเขียนเส้นให้มีความลื่นไหล อ่อนช้อยมีลีลาและจังหวะที่สอดรับสัมพันธ์กันอย่างลงตัว ควรคำนึงถึงช่องไฟของลายการล้อของลาย และควรที่จะฝึกเขียนมากสักหน่อย เพื่อที่จะเป็นพื้นฐานที่ดีในการเขียนลายไทยต่อๆไป


ศิลปภาพลายไทย
ชาติไทยเราได้รับมรดกตกทอดทางศิลปมาแต่บรรพบุรุษ อันหาค่ามิได้ และงดงามทางศิลป ทำให้ผู้ที่ได้พบเห็นศิลปไทย รู้สึกติดตาตรึงใจ ที่ได้เห็นสิ่งมหัศจรรย์อันน่าตื่นตาตื่นใจ ทำให้เกิดปิติ ความสงบ และความสุขสบายใจ


ภาพมโหรีหญิง
ภาพ:Tha2.gif
        แสดงการเล่นดนตรีไทย มีดีด สี ตี เป่า เครื่องดีด-กระจับปี่ ,เครื่องสี-ซอสามสาย ,เครื่องตี-กรับ ฉิ่ง และโทน , เครื่องเป่า-ขลุ่ย ได้แบบอย่างมาจากถาพจิตรกรรมฝาฝนัง สมัยรัตนโกสินทร์ ในพระที่นั่งพุทไธศวรรย์


ภาพกินรี
ภาพ:Tha3.gif
        แสดงถึงความอ่อนหวาน ของดอกไม้ (ดอกบัว) จากอีกตัวหนึ่ง ภาพนี้แสดงให้เห็นลักษณะ ลีลาของการนั่ง ซึ่งเป็นครึ่งคนครึ่งนก และการยืนพักอิริยาบททั้งสอง ตลอดจนศิราภรณ์ และเครื่องตกแต่งร่างกาย


ภาพกินนร
ภาพ:Tha4.gif
        คือมีทั้งเพศหญิงและเพศชาย ซึ่งเรียกว่า กินรี และกินรา ในภาพแสดงให้เห็น กินรากำลังขอความรัก หรือความเห็นใจจากกินรี ซึ่งกินรีก็ได้แต่เอียงอาย ตามวิสัยเพศหญิงอันพึงมี


ภาพฟ้อนรำหญิงชาย
ภาพ:Tha5.gif
        ได้แบบอย่างจากลายรดน้ำ ซึ่งเขียนเป็นฉาก อยู่ในพระที่นั่งพิมานรัตยา ในเขตพระราชฐานฝ่ายใน ในพระบรมมหาราชวัง


ภาพจิตรกรรมฝาฝนัง
ภาพ:Tha6.gif
        ระเบียงวัดพระแก้ว เรื่องรามเกียรติ์ แสดงให้เห็นตอน หนุมานอาสาลวงเอากล่องดวงใจทศกัณฑ์ จากพระฤๅษีโคบุตร อาจารย์ทศกัณฐ์ แล้วขอให้พระฤๅษีนำเข้าเฝ้าถวายตัว อาสาทศกัณฐ์นำจับพระราม

ลายไทย..






















           การเขียนภาพลายไทยนี้มีมาตั้งแต่โบราณ ผู้เขียนภาพลายไทยในกาลก่อนมีความรู้สึกนึกคิด ตามสิ่งที่เกิด ขึ้นตามธรรมชาติ แล้วนำมาเขียนเป็นลวดลายหรือภาพต่างๆ ต่อมาได้รับอิทธิพล จากต่างชาติ โดยเฉพาะ ชาวอินเดีย ได้นำศิลปะหลายแขนงเข้ามา ครูอาจารย์คนไทย ก็ได้เรียนรู้จากอาจารย์เหล่านั้น แล้วนำมาผสม ผสานกับศิอลปดั้งเดิม ของคนไทยสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบันนี้ หลักฐานตามประวัติศาสตร์ลายไทย ได้เริ่ม ขึ้น ตั้งแต่สมัยเชียงแสน สืบทอดกันมาที่สุโขทัย อยุธยา และรัตนโกสินทร์ แต่เดิมมีแต่ช่างตามวัดต่างๆ ต่อมาช่างเหล่านั้นได้ถวายตัวเพื่อรับใช้พระเจ้าแผ่นดินเรียก “ช่างหลวง” หรือ “ช่างสิบหมู่

วันเสาร์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2554

เรือนไทยภาคใต้

เรือนไทยภาคใต้


เรือนไทยภาคใต้ที่พบเห็นทั่วไปในภาคใต้แบ่งออกเป็น
  • เรือนเครื่องผูก
  • เรือนเครื่องสับ
  • เรือนก่ออิฐฉาบปูน
โดยเอกลักษณ์ของเรือนภาคใต้อยู่ที่หลังคาเรือนและ เสาเรือนจะเป็นเสาไม้ตั้งบนฐานคอนกรีตเหตุเพราะสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติเกิดพายุไต้ฝุ่น พายุฝน ลมแรงเสมอ จำเป็นต้องมีโครงสร้างที่แข็งแรง ลักษณะเรือนไทยเป็นเรือนยกพื้นสูง แต่ว่าไม่สูงจนเกินไป พอที่จะเดินลอดได้
เรือนไทยภาคใต้ แบ่งเป็น 2 บริเวณ คือ แถบชายทะเลด้านใน คือ ชายทะเลฝั่งตะวันออกซึ่งติดกับอ่าวไทย และแถบชายทะเลด้านนอก คือ ชายทะเลฝั่งตะวันตกซึ่งติดกับทะเลอันดามัน โดยที่พื้นที่ทางฝั่งตะวันออกด้านอ่าวไทยเป็นชุมชนที่เก่าแก่มากกว่าฝั่งตะวันตก บ้านเรือนแถบชายฝั่งทะเลตะวันออก มักเป็นเรือนหลังคาหน้าจั่วทรงสูงแบบเรือนไทยภาคกลาง แต่ไม่นิยมทำปั้นลมและตัวเหงา
หลังคาเรือนไทยภาคใต้มี 3 ลักษณะคือ
  • หลังคาจั่ว
ในชุมชนที่ประกอบอาชีพกสิกรรมและประมงจะปลูกสร้างเรือนหลังคาทรงจั่ว ไม่มีการตกแต่งหน้าจั่ว วัสดุมุงหลังคาส่วนใหญ่ใช้จาก แต่บางเรือนที่มีฐานะดีจะ มุงกระเบื้องเพื่อความมั่นคงแข็งแรง ความลาดชันของหลังคาขึ้นอยู่กับวัสดุมุง หลังคาในท้องถิ่นนั้นว่าจะใช้กระเบื้องดินเผาหรือกระเบื้องขนมเปียกปูนหรือมุง แฝกจากเรือนเครื่องผูกหลังคาทรงจั่วปลูกสร้างง่ายด้วยตนเอง โยกย้ายได้ง่ายวัสดุ หาง่าย ส่วนเรือนเครื่องสับ สำหรับผู้มีฐานะดีหลังคาจั่วเป็นรูปตรงทรงไม่สูงตกแต่งหน้าจั่วยอด จั่วมุงนั้นด้วยกระเบื้องแผ่นสี่เหลี่ยมเชิงชาย และช่องลมใต้เพดานแต่งด้วยไม้ฉลุสวยงาม ตัวเรือนใต้ถุนยกสูงมีระเบียงและนอกชานลดหลั่นกัน
  • หลังคาปั้นหยา
มีความแข็งแรงของโครงสร้างหลังคาเป็นพิเศษหลังคาตรงหัวท้ายเป็นรูปลาด เอียงแบบตัดเหลี่ยมหลังคามุงกระเบื้องแผ่นสี่เหลี่ยม ตรงรอยตัดเหลี่ยมหลังคา ครอบด้วยกันน้ำฝนรั่ว หลังคาแบบนี้โครงหลังคาแข็งแรงมากสามารถทนรับ ฝนและต้านแรงลม หรือพายุไต้ฝุ่นได้ดีมาก ส่วนใหญ่อยู่ทางจังหวัดสงขลา
  • หลังคามนิลา หรือ หลังคาบรานอร์
หรือแบบรานอร์เป็นการผสมผสานหลังคาจั่วผสมหลังคาปั้นหยาคือส่วนหน้าจั่ว ค่อนข้างเตี้ยจะเป็นจั่วส่วนบนส่วนล่างของจั่วจะเป็นหลังคาลาดเอียงลงมารับกับ หลังคาด้านยาวซึ่งลาดเอียงตลอดเป็นเรือนไม้ใต้ถุนสูง เรือนแบบนี้ส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดปัตตานี
โดยส่วนมากจะเป็นบ้านที่มีหลังคาแบบมนิลาหรือบรานอร์ และเพิ่มเติมลายไม้กลมฉลุไม้ที่ส่วนยอดซึ่งพบมากในชุมชนชาว ไทยมุสลิมหลังคาทั้ง 4 แบบ มีอยู่ทั่วไปแต่สัดส่วนของหลังคาจะมีทรงสูงต่ำอย่างไรขึ้นอยู่กับช่างก่อสร้างและวัสดุมุงหลังคาในท้องถิ่นนั้น เช่น ถ้าใช้กระเบื้องดินเผา หรือใช้ กระเบื้องขนมเปียกปูน หรือ มุงแฝกจาก ความลาดชันของหลังคาจะไม่เท่ากัน


ลักษณะทั่วไปของเรือนไทยในภาคใต้


เรือนส่วนใหญ่จะวางเสาไว้บนตอหม้อตีนเสาซึ่งจะก่ออิฐฉาบปูนเมื่อต้องการจะทำการย้ายบ้านก็จะ ปลดกระเบื้องลงตีไม้ยึดโครงสร้างเสาเป็นรูปกากบาทแล้วใช้คนหามย้ายไปตั้งในที่ที่ต้องการนำกระเบื้องขึ้นมุงใหม่ ส่วนใหญ่จะใช้ไม้ในการก่อสร้างรูปทรงของเรือนเป็นเรือนไม้ ใต้ถุนสูงประมาณคนก้มตัวลอดผ่านได้ เสาทุกต้นไม่ฝังลงดินเพราะว่าดินมันชื้น และก็จะทำให้เสาผุเร็ว แต่จะตั้งอยู่บนแผ่นปูนหรือแผ่นหินเรียบ ๆ ที่ฝังอยู่ ในดินให้โผล่ขึ้นมาจากพื้นดินไม่เกิน 1 ฟุต เพื่อกันมิให้ปลวกกัดตีนเสาและกันเสาผุจากความชื้นของดิน ตีนเสา ตอนล่างห่างจากพื้นดิน ประมาณ 1- 2 ฟุตจะมีไม้ร้อยทะลุเสาทุกต้นตามความยาวของเรือนทั้ง 3 แถวเพื่อทำหน้าที่ยึดโครงสร้างของเรือนให้แข็งแรงมากขึ้น
ตัวเรือนกั้นฝาด้วยแผ่นกระดานตีเกร็ดตามแนวนอน กั้นห้องสำหรับเป็นห้องนอน 1 ห้อง อีกห้องหนึ่งปล่อยโล่ง ด้านหน้าบ้านมีระเบียงด้านข้าง เรือนเครื่องสับในภาคใต้จะทำช่องหน้าต่างแคบ ๆ หลังคาทำทรงจั่วถากจันทันให้แอ่นแบบเดียวกับเรือนไทย ภาคกลางแต่ทรวดทรงเตี้ยกว่าเล็กน้อย ติดแผ่นปั้นลมแบบหางปลา ไม่นิยมทำตัวเหงา

เรือนไทยภาคกลาง

เรือนไทยภาคกลาง

เรือนไทยภาคกลาง เป็นเรือนไทยประเภทที่นิยมที่สุด มีลักษณะเป็นเรือนยกพื้น ใต้ถุนสูง สูงจากพื้นดินเสมอศีรษะคนยืน รูปทรงล้มสอบ หลังคา ทรงสูงชายคายื่นยาว เพื่อกันฝนสาด แดดส่อง นิยมวางเรือนไปตามสภาพแวดล้อมทิศทางลมตามความเหมาะสม
ถือเป็นแบบฉบับของเรือนไทยเดิมที่เราคุ้นเคยกันดี ในรูปแบบ เรือนฝาปะกนถือเป็น เรือนไทยแท้ เรือนไทยฝาปะกน คือเรือนที่ฝาทำจากไม้สัก มีไม้ลูกตั้งและลูกนอน และมีแผ่นไม้บางเข้าลิ้นประกบกัน สนิท หน้าจั่วก็ทำด้วยวิธีเดียวกัน เราจะพบเห็นเรือนไทยภาคกลาง รูปแบบต่าง ๆ อาทิ เรือนเดี่ยว เรือนหมู่ เรือนหมู่คหบดี และ เรือนแพ




ประเภทเรือนไทยภาคกลาง



องค์ประกอบต่างๆของเรือนไทยภาคกลาง



  • งัว
  • กงพัด
  • แระ (ระแนะ)
  • เสาเรือน
  • รอด
  • รา
  • ตง
  • พรึง
  • พื้น
  • ฝักมะขาม
  • ฝา
  • กันสาด
  • เต้า
  • สลัก-เดือย
  • ค้างคาว
  • หัวเทียน
  • ขื่อ
  • ดั้ง
  • อกไก่
  • จันทัน
  • แป
  • กลอน
  • ระแนง
  • เชิงชาย
  • ตะพานหนู
  • ปั้นลม
  • หน้าจั่ว
  • หลังคา
  • ไขรา
  • คอสอง
  • ร่องตีนช้าง
  • ช่องแมวรอด
  • ประตูห้อง
  • ประตูรั้วชาน
  • หน้าต่าง
  • กระได

  • เรือนเดี่ยว
เป็นเรือนสำหรับครอบครัวเดี่ยว สร้างขึ้นโดยมีประโยชน์ใช้สอยที่เพียงพอกับครอบครัวเล็ก ๆอาจ เป็นเรือนเครื่องผูกเรือนเครื่องสับ หรือผสมผสานกันก็เป็นได้แล้วแต่ฐานะ ประกอบด้วย เรือนนอน 1 หลัง เรือนครัว 1 หลัง ระเบียงยาว ตลอดเป็นตัวเชื่อมระหว่างห้องนอนกับชาน
  • เรือนหมู่
เรือนหมู่ คือ เรือนหลายหลังซึ่งปลูกอยู่ในที่เดียวกัน สมัยก่อนลูกชายแต่งงานส่วนใหญ่จะไปอยู่บ้านผู้หญิง ส่วนลูกผู้หญิงจะนำเขยเข้าบ้าน จะอยู่เรือนหลังย่อมกว่า เรือนหลังเดิมเรียกว่า “หอกลาง” ส่วนเรือนนอกเรียกว่า “หอรี” เพราะปลูกไปตามยาว ถ้ามีเรือนปลูกอีกหลังหนึ่งเป็นด้านสกัดก็เรียกว่า “หอขวาง” อาจมี“หอนั่ง”ไว้สำหรับนั่งเล่น บางแห่งมี“หอนก” ไว้สำหรับเลี้ยงนก
  • เรือนหมู่คหบดี
เรือนหมู่คหบดีโบราณ เป็นเรือนสำหรับผู้มีอันจะกิน ลักษณะการจัดเรือนหมู่คหบดีของโบราณเป็นเรือนขนาดใหญ่มีเรือนคู่และเรือนหลังเล็กหลังน้อยรวมเข้าด้วยกัน แต่ละหลังใช้ประโยชน์ต่างหน้าที่กันออกไป ประกอบด้วย เรือนนอน เรือนลูก เรือนขวาง เรือนครัว หอนก และชาน
  • เรือนแพ
การสร้างบ้านบริเวณชายฝั่งต้องยกพื้นชั้นบนสูงมาก ไม่สะดวกในหน้าแล้งทำให้เกิดการสร้างเรือนในลักษณะ " เรือนแพ " ที่สามารถปรับระดับของตนเองขึ้นลงได้ตามระดับน้ำในแม่น้ำลำคลองลักษณะของเรือนไทยภาคกลาง

ลักษณะของเรือนไทยภาคกลาง
เรือนไทยภาคกลาง ยกใต้ถุนสูง สูงจากพื้นดินประมาณพ้นศีรษะ รวมทั้งระเบียงและชานก็ยกสูงด้วย การยกใต้ถุนสูงนี้มีระดับลด หลั่นกัน พื้นระเบียงลดจากพื้นห้องนอน 40 เซนติเมตรพื้นชานลดจากระเบียงอีก 40 เซนติเมตรและปิดด้วยไม้ระแนงตีเว้นช่องโปร่ง การลดระดับ พื้นทำให้ได้ประโยชน์ดังนี้ คือ ช่วยให้ลมพัดผ่านจากใต้ถุนขึ้นมาข้างบน สามารถมองลงมายังใต้ถุนชั้น ล่างได้ และใช้ระดับลด 40 เซนติเมตรไว้เป็นที่นั่งห้อยเท้า
หลังคาทรงจั่วสูงชายคายื่นยาว หลังคาของเรือนไทยเป็นแบบทรงมนิลา ใช้ไม้ทำโครงและใช้จาก แฝกหรือกระเบื้องดินเผาเป็นวัสดุมุง
หลังคา วัสดุเหล่านี้ต้องใช้วิธีมุงตามระดับองศาที่สูงชันมาก น้ำฝนจึงจะไหลได้เร็ว ไม่รั่ว การทำหลังคา ทรงสูงนี้ มีผลช่วยบรรเทาความร้อนที่จะถ่ายเทลงมายังส่วนล่าง ทำให้ที่พักอาศัยหลับนอนเย็นสบาย สำหรับเรือนครัวทั่วไปตรงส่วนของหน้า จั่วทั้ง 2 ด้าน ทำช่องระบายอากาศ โดยใช้ไม้ตีเว้นช่องหรือ ทำเป็นรูปรัศมีพระอาทิตย์ เพื่อถ่ายเทควันไฟออกจากเรือนครัวได้สะดวก ชายคากันสาดให้ยื่นออกจากตัวเรือนมาก เพื่อกันแดดส่องและฝนสาด
ชานกว้าง โดยทั่วไปมีปริมาณถึงร้อยละ 40 ของพื้นที่ทั้งหมด ถ้ารวมพื้นที่ของระเบียงเข้าไปด้วยจะมีปริมาณถึงร้อยละ 60 พื้นที่นี้เป็นส่วนอาศัยภายนอก ส่วนที่อาศัยหลับนอนมีฝา กั้นเป็นห้อง มีเนื้อที่เพียงร้อยละ 40 ของพื้นที่ทั้งหมด สาเหตุที่พื้นที่อยู่อาศัยภายนอกมีปริมาณมาก เพราะดินฟ้าอากาศร้อนอบอ้าว

เรือนไทยภาคเหนือ

เรือนไทยภาคเหนือ

เรือนไทยภาคเหนือ เป็นหนึ่งใน เรือนไทย 4 ภาคของไทย ส่วนมากจะพบในจังหวัด เชียงราย เชียงใหม่ พะเยา ลำปาง ลำพูน แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ แม่ฮ่องสอน และตากบางส่วน









เรือนล้านนา






เรือนกาแล
เกิดเรือนประเภทต่าง ๆ ขึ้นตามสภาพการใช้งาน
  • เรือนชนบท หรือเรือนเครื่องผูก
เป็นเรือนขนาดเล็ก เรือนประเภทนี้กันทั่วไปเนื่องจากก่อสร้างง่ายราคาถูก ตามชนบทและหมู่บ้านต่าง ๆ เรือนชนิดนี้โครงสร้างส่วนหลังคา ตงพื้นใช้ไม้ไผ่ ส่วนคานและเสานิยมใช้ไม้เนื้อแข็ง ฝาเป็นฝาไม้ไผ่สาน หลังคามุงแฝกหรือใบตองตึง นิยมใช้ตอกและหวายเป็นตัวยึดส่วนต่าง ๆ ของเรือนเข้าด้วยกันด้วยวิธีผูกมัด จึงเรียกกันว่า "เรือนเครื่องผูก" สร้างขึ้นกลางทุ่งนา เพื่อเฝ้าทุ่ง หรือเพื่อประโยชน์การใช้งานตามฤดูกาล มีลักษณะชั่วคราวอยู่ได้ 2-4 ปี เมื่อถึงฤดูฝนในปีหนึ่งๆต้องมีการซ่อมแซมครั้งใหญ่ มีการออกแบบโดยใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด มีสัดส่วนที่ลงตัว ค่อนข้างกระชับ
  • เรือนไม้ หรือเรือนเครื่องสับ
เรือนไม้ เป็นเรือนของผู้มีอันจะกิน ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง เช่น สัก เต็ง รัง ตะเคียน ไม้แดง ฯลฯ การปลูกเรือนประเภทนี้ไม่ต้องใช้ตะปูตอก ยึดให้ไม้ติดกันหรือประกอบกัน โดยการใช้มีด สิ่ว หรือขวานถากไม้ให้เป็นรอยสับแล้วประกอบเข้าด้วยกัน เรียกว่า การประกอบเข้าลิ้นสลักเดือย หลังคามุงกระเบื้อง (ดินขอ) หรือแป้นเกล็ด


ศาสตร์ของเรา

ศาสตร์ของเรา
เสน่ห์แห่งท้องถิ่น...

I'am

พลูโต...ที่รัก